หมายถึงภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือสารพิษของเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย
การอักเสบดังกล่าวจะทำให้อวัยวะต่างๆเสียหาย ระบบแข็งตัวของเลือดผิดปรกติ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆลดลง อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง ในรายที่เป็นรุนแรงความดันโลหิตจะต่ำเรียกว่า Septic shock ซึ่งอันตรายมาก
คำนิยามโลหิตเป็นพิษ
Sepsis หมายถึงภาวะที่มีการอักเสบทั่วร่างกายซึ่งเกิดจากการที่ภูมิของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ และสารพิษที่เกิดขึ้น
Septicemia หมายถึงภาวะที่เชื้อเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด แหล่งที่ติดเชื้ออาจจะมาจากผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร
ทางเดินปัสสาวะ
Severe sepsis หมายถึงภาวะ sepsis ที่มีภาวะอวัยวะทำงานบกพร่อง เช่น ตับ ปอด หัวใจ ประสาท
Septic shock เป็นภาวะ sepsis ที่มีความดันโลหิตต่ำแม้ว่าจะได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
สาเหตุ
หากพิจารณาจากตัวเชื้อที่ให้เกิดโรคติดเชื้อเข้ากระแสโลหิตแบ่งตามความถี่ดังนี้
•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 40 เป็นแบคทีเรียรูปแท่งชนิดแกรมลบ (Gram negative bacteria เวลาย้อมสีจะติดสีแดง) เชื้อชนิดนี้จะพบได้ในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ
•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละประมาณ 30 เป็นแบคทีเรียรูปกลมชนิดแกรมบวก (Gram positive bacteria)
เป็นเชื้อที่พบตามผิวหนัง ระบบหายใจ
•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ5 เกิดจากแบคทีเรียชนิดก่อภาวะนี้ได้บ่อย เช่น H.influenzae, Neisseria meningitidis, Streptococcus pyogenes และ S.pneumoniae
•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 6 เกิดจากเชื้อรา
•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 16 เกิดจากเชื้อหลายชนิด
หากจะพิจารณาจากตำแหน่งที่เกิดติดเชื้อจะแบ่งออกเป็น
1.อวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ หรือไส้ติ่งแตก ช่องท้องอักเสบ ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบหรือเป็นหนอง ลำไส้อักเสบ
ตับอ่อนอักเสบ
2.ระบบประสาท ได้แก่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ
3.ระบบหายใจได้แก่ ปอดบวม ไซนัสอักเสบ
4.ผิวหนังได้แก่ แผลติดเชื้อ แผลเบาหวาน ฝี หนองที่ผิวหนัง
ผื่นแพ้ที่มีการติดเชื้อ
5.ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่กรวยไตอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้
ผู้ที่มีโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้จะเกิดโรคติดเชื้อเข้ากระแสโลหิตได้ง่าย
•ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้แก่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ ผู้ที่เป็นมะเร็ง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่นผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่รับประทานยา steroid เรื้อรัง
•ทารก
•ผู้สูงอายุ
•ผู้ที่นอนโรงพยาบาลนานต้องใส่สายต่างๆ เช่นสายสวนปัสสาวะ สายสำหรับป้อนอาหาร ท่อช่วยหายใจ
•ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
•ผู้ที่มีแผลที่ผิวหนัง เช่นแพ้ยา หรือน้ำร้อนลวก
อาการของผู้ป่วยโลหิตเป็นพิษเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยที่โลหิตเเป็นพิษมักจะมีอาการของอวัยวะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อ เช่น มีฝีที่ผิวหนัง หรือไอมีเสมหะ หรืออาการปวดท้อง หรือท้องร่วง หรือมีอาการปวดเอวร่วมกับปัสสาวะขัด แต่ก็มีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีอาการของแหล่งติดเชื้อ เช่นผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นต้น นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตเป็นพิษมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย
•ไข้สูงหนาวสั่น หรือบางรายอุณหภูมิต่ำกว่าปรกติ
•หายใจหอบ
•คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง
•สับสน กระวนกระวาย หรืออาจจะซึม
•ปัสสาวะออกน้อย
•ผิวอาจจะอุ่น แดง หรือซีดและเย็นก็ได้ขึ้นกับระยะของโรค
•ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
หากมีอาการตำแหน่งติดเชื้อร่วมกับอาการดังกล่าวให้พบแพทย์
เมื่อไรจึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคโลหิตเป็นพิษ
การจะวินิฉัยว่าโลหิตเป็นพิษจะต้องมีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้
1.จะต้องมีแหล่งที่ติดเชื้อซึ่งอาจจะมีอาการหรือสิ่งตรวจพบดังต่อไปนี้เป็นการพิสูจน์ว่าผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้อ ซึ่งจะใช้การตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาตำแหน่งที่กำลังมีการติดเชื้ออยู่ ได้แก่
•การเอกซเรย์ เช่น เอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในปอดหรือไม่
•การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เช่น
อัลตราซาวน์ช่องท้องเพื่อดูว่ามีฝีเกิดขึ้นในช่องท้องหรือไม่
•การเจาะน้ำจากตำแหน่งต่างๆ เช่น น้ำไขสันหลัง น้ำในช่องท้อง น้ำในช่องปอด ตรวจพบเม็ดเลือดขาว หากพบแสดงว่ามีการติดเชื้อ
•การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่
•ไอเสมหะสีเหลืองหรือเป็นหนอง หรือตรวจรังสีทรวงอกพบว่าเป็นปอดบวม
•มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
•เพาะเชื้อจากเลือดพบตัวเชื้อ
2.เมื่อมีอาการหรือแหล่งที่ติดเชื้อตามข้อ 1 จะต้องมีการตรวจพบในข้อสองอีกสองข้อได้แก่
•มีไข้มากกว่า 38 องศาหรือต่ำกว่า 36 องศา
•หายใจมากกว่า 20 ครั้งหรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
•หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที
•ตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า12000 เซลล์ต่อมม หรือน้อยกว่า 4000 เซลล์ หรือมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมากกว่า10%
หากมีอาการในข้อที่ 1 และมีการตรวจพบในข้อที่ 2 อีกสองข้อจะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือภาวะติดเชื้อเข้ากระแสเลือด
3.เป็นเกณฑ์ของการประเมินว่าภาวะโลหิตเป็นพิษเป็นชนิด severe sepsis หรือไม่ หากปรากฎว่ามีข้อใดข้อหนึ่งก็แสดงว่าเป็น severe sepsis
•ระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ หัวใจจะบีบตัวได้น้อยลง ความดันโลหิตก็จะยิ่งลดลง ยิ่งทำให้การส่งเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ น้อยลงไปอีกความดันโลหิตต่ำ ต้องใช้ยาเพิ่มความดันโลหิตโดยร่างกายไม่ขาดน้ำ
•ปอด การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนระหว่างปอดกับเลือดจะน้อยลง มีภาวะขาดออกซิเจน
•ไตเสื่อม ปัสสาวะออกน้อยกว่า0.5ซซ/กม/ชมในเวลา 2 ชม
•มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า80,000
•มีภาวะเลือดเป็นกรดpH<7 .30="" 1.5="" font="" nbsp="">7>
•สมอง จะเกิดอาการสับสน วุ่นวาย หรือซึม จนถึงขั้นโคม่า ในที่สุด
•ตับ ตับทำงานน้อยลงจะมีการคั่งของน้ำดี ทำให้มีอาการ
ตัวเหลือง ตาเหลือง และตับยังจะหยุดผลิตสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดจึงออกได้ง่าย
•ระบบการแข็งตัวของเลือด นอกจากสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดซึ่งผลิตจากตับจะน้อยลงแล้ว ปริมาณเกล็ดเลือลดลงด้วย ทำให้เลือดออกง่าย ผู้ป่วยจะมีเลือดออกไม่หยุดเกิดขึ้นได้ในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ปอด สมอง ลำไส้ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
หลักการรักษา
1.การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
2.การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
3.การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
4.การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
5.การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
6.การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
7.การใช้เครื่องช่วยหายใจ
8.การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด
ด้วยความปรารถนาดีจาก
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น