ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)
ภาวะไขมันในเลือดสูง นี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ เราสามารถควบคุมและป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้ไม่ยาก ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมาก
ภาวะไขมันในเลือดสูง นี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ เราสามารถควบคุมและป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้ไม่ยาก ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมาก
ชนิดของไขมันในเลือด
ไขมันในเลือดที่สำคัญมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ไขมันโคเลสเตอรอล (Cholesterol) และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) โดยทั่วไปในการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่างๆ ดังต่อไปนี้
ไขมันในเลือดที่สำคัญมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ไขมันโคเลสเตอรอล (Cholesterol) และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) โดยทั่วไปในการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. โคเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ขึ้นเองจากตับและลำไส้ หรือได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป อาหารที่มาจากพืชจะไม่พบโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบ แต่จะพบมากในไขมันสัตว์ ปริมาณไขมันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร โคเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่หามมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และการตีบตันของหลอดเลือด ในอนาคตจะเป็นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณโคเลสเตอรอล และ มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
เรายังแบ่งไขมันโคเลสเตอรอลได้ย่อยๆ อีกที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
1.1 เอชดีแอล (High density lipoprotein-HDL) มีหน้าที่นำโครเลสเตอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDLในเลือดสูง จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยลง HDL จะสูงได้จากการออกกำลังกาย ระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร
เรายังแบ่งไขมันโคเลสเตอรอลได้ย่อยๆ อีกที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
1.1 เอชดีแอล (High density lipoprotein-HDL) มีหน้าที่นำโครเลสเตอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDLในเลือดสูง จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยลง HDL จะสูงได้จากการออกกำลังกาย ระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร
1.2 แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูง ก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น จนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก
ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาล และแป้งหรือ จากอาหารที่รับประทานเข้าไป มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่ให้พลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และ เค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องอยู่นาน นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ อย่างไรก็ตาม การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)
สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง
- กรรมพันธุ์
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
- โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เบาหวาน ธัยรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไตบางอย่าง
- โรคตับ โรคไตบางชนิด
- ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ(ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น
- การตั้งครรภ์
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะขาดการออกกำลังกาย
ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาล และแป้งหรือ จากอาหารที่รับประทานเข้าไป มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่ให้พลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และ เค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องอยู่นาน นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ อย่างไรก็ตาม การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)
สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง
- กรรมพันธุ์
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
- โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เบาหวาน ธัยรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไตบางอย่าง
- โรคตับ โรคไตบางชนิด
- ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ(ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น
- การตั้งครรภ์
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะขาดการออกกำลังกาย
การตรวจ LDL-c สำคัญอย่างไร
การตรวจค่า LDL-c สามารถบ่งชี้ถึงอันตรายและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary heart disease, CHD) และสมอง ที่ส่งผลให้หัวใจขาดเลือดและเกิดอาการแสดงต่างๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการวัดค่า LDL-c และนำไปสู่การแก้ไขจึงเป็นเป้าหมายหลัก ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง และเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างแรกในการลดระดับไขมันในเลือด
การตรวจค่า LDL-c สามารถบ่งชี้ถึงอันตรายและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary heart disease, CHD) และสมอง ที่ส่งผลให้หัวใจขาดเลือดและเกิดอาการแสดงต่างๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการวัดค่า LDL-c และนำไปสู่การแก้ไขจึงเป็นเป้าหมายหลัก ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง และเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างแรกในการลดระดับไขมันในเลือด
ตรวจบ่อยแค่ไหน
การตรวจ LDL-c ควรเริ่มตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังตารางที่ 3 โดยทั่วไปในผู้ใหญ่สุขภาพดีตรวจทุก 5 ปี และควรติดตามผล LDL-c หลังจากนั้นขึ้นกับปริมาณที่วัดได้ และความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หากมีความเสี่ยงควรมีการตรวจติดตามประมาณทุกๆ ครึ่งเดือน ถึง 3 เดือน และขึ้นกับดุลพินิจการแพทย์ผู้รักษา
การตรวจ LDL-c ควรเริ่มตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังตารางที่ 3 โดยทั่วไปในผู้ใหญ่สุขภาพดีตรวจทุก 5 ปี และควรติดตามผล LDL-c หลังจากนั้นขึ้นกับปริมาณที่วัดได้ และความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หากมีความเสี่ยงควรมีการตรวจติดตามประมาณทุกๆ ครึ่งเดือน ถึง 3 เดือน และขึ้นกับดุลพินิจการแพทย์ผู้รักษา
ค่า LDL-c แปลผลอย่างไร
การวัดค่า LDL-c สามารถวัดได้จากการคำนวณ (calculated, calc.) จากผลของการวัดค่าไขมันทั้งหมด ที่ผ่านการงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชม. [สามารถทานน้ำได้ปกติ] คือ ไขมันรวม (total cholesterol: TC), ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides:TG) และ ไขมันชนิดดี (high-density lipoprotein cholesterol: HDL-c) แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ค่าการตรวจไตรกลีเซอไรด์ ต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg/dL มิฉะนั้นผลการตรวจ LDL-c จากการคำนวณผิดพลาดได้ ซึ่งคำนวณจาก LDL = TC - (HDL + TG/5)
แต่หากมีค่าไตรกลีเซอไรด์ สูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือ ต้องการตรวจเฉพาะ LDL-c เท่านั้น สามารถตรวจได้โดยตรงที่เรียกว่า Direct-LDL-c โดยไม่ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด
การวัดค่า LDL-c สามารถวัดได้จากการคำนวณ (calculated, calc.) จากผลของการวัดค่าไขมันทั้งหมด ที่ผ่านการงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชม. [สามารถทานน้ำได้ปกติ] คือ ไขมันรวม (total cholesterol: TC), ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides:TG) และ ไขมันชนิดดี (high-density lipoprotein cholesterol: HDL-c) แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ค่าการตรวจไตรกลีเซอไรด์ ต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg/dL มิฉะนั้นผลการตรวจ LDL-c จากการคำนวณผิดพลาดได้ ซึ่งคำนวณจาก LDL = TC - (HDL + TG/5)
แต่หากมีค่าไตรกลีเซอไรด์ สูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือ ต้องการตรวจเฉพาะ LDL-c เท่านั้น สามารถตรวจได้โดยตรงที่เรียกว่า Direct-LDL-c โดยไม่ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด
จะทำอย่างไรถ้าไขมันในเลือดสูง
ถ้าตรวจพบว่าระดับไขมันในเลือดสูง ควรมีการควบคุมปริมาณไขมันในเลือด โดยการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
1. การควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ สมองสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เป็นต้น ควรจำกัดไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน (ดูจากตารางปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารแต่ละชนิด)
2. ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วนเกินไปโดยจำกัดอาหารประเภทแป้ง - ข้าวต่าง ๆ ขนมหวาน
3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์เร่งการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็อดอกทานตะวัน ซึ่งมีกรดไลโนเลอิก เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลไปเผาผลาญ ซึ่งจะช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
5. ควรเพิ่มอาหารพวกผักใบต่าง ๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้ใยและกาก เช่น คะน้า ผักกาด ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก และอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น กากใยเหล่านี้จะช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
6. รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ธัยรอยด์ โรคตับ โรคไต และอื่น ๆ
7. หยุดยาที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ไขมันในเลือด หรือเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสม
8. การออกกำลังกาย จะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด และเพิ่มระดับของ HDL ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง ครั้งละ 20 - 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง สำหรับการออกกำลังกายที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ คือ การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ การขี่จักรยาน แต่ถ้ามีอาการของโรคหัวใจอยู่แล้ว หรือมีอายุมากกว่า 40 ปี ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนว่า การออกกำลังกายแบบใดจึงจะเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประโยชน์โดยไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ
9. ใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับการควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และลักษณะนิสัยในการดำเนินชีวิตของตนเองด้วยนะ
2. ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วนเกินไปโดยจำกัดอาหารประเภทแป้ง - ข้าวต่าง ๆ ขนมหวาน
3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์เร่งการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็อดอกทานตะวัน ซึ่งมีกรดไลโนเลอิก เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลไปเผาผลาญ ซึ่งจะช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
5. ควรเพิ่มอาหารพวกผักใบต่าง ๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้ใยและกาก เช่น คะน้า ผักกาด ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก และอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น กากใยเหล่านี้จะช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
6. รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ธัยรอยด์ โรคตับ โรคไต และอื่น ๆ
7. หยุดยาที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ไขมันในเลือด หรือเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสม
8. การออกกำลังกาย จะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด และเพิ่มระดับของ HDL ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง ครั้งละ 20 - 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง สำหรับการออกกำลังกายที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ คือ การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ การขี่จักรยาน แต่ถ้ามีอาการของโรคหัวใจอยู่แล้ว หรือมีอายุมากกว่า 40 ปี ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนว่า การออกกำลังกายแบบใดจึงจะเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประโยชน์โดยไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ
9. ใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับการควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และลักษณะนิสัยในการดำเนินชีวิตของตนเองด้วยนะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น