วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เพชรฆาต...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

เพชรฆาต…โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  หลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากการมีคอเลสเตอรอลไปสะสมตามผนังหลอดเลือด จนกลายเป็นคราบตะปุ่มตะป่ำ ทำให้หลอดเลือดหัวใจบริเวณนั้นคับแคบลง ส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ คราบไขมันที่อยู่ในหลอดเลือดนั้นมีลักษณะเหมือนแผล ร่างกายจึงพยายามปกปิดแผลด้วยการสร้าง “ฝา” แข็งขึ้นมาปิดไว้เหมือนสะเก็ดที่แผล หากคราบไขมันหยุดการเจริญเติบโต ฝานี้ก็จะปิดสนิท ก้อนไขมันจึงมีโอกาสแตกออกน้อย แต่ถ้าคราบไขมันยังหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ ฝานี้ก็จะบางลงและเปราะแตกได้ง่าย ทำให้อนุภาคของไขมันที่อยู่ข้างในกระจายสู่กระแสเลือด ซึ่งจะไปกระตุ้นกระบวนการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดลมเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดหัวใจพิบัติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ที่ชายและหญิงในปัจจุบันพบว่า “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ในกลุ่มคนอายุ 35-45 ปี จำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากต้องดำเนินชีวิตแบบเร่งรีบ และพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปที่มีไขมันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงไม่ได้เป็นโรคของผู้สูงอายุอีกต่อไป

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีอาการเป็นอย่างไร
     ในกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบไม่มาก อาจจะไม่รู้สึกอาการใดๆ อาการต่างๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่า 75% อาทิ

- เจ็บหน้าอก รู้สึกปวด แน่น จุกเสียดบริเวณหน้าอก ลำคอ ท้องส่วนบน หรือต้นแขนในขณะเครียด หรือออกกำลัง เมื่อหยุดพักอาการมักจะดีขึ้น 

- หายใจไม่ทั่วท้อง อาการหายใจลำบาก และเหนื่อยง่าย เกิดขึ้นได้ไม่ว่าขณะออกแรง พักผ่อนหรือนอนหลับ 

- บวม อาการบวมบริเวณข้อเท้า มักเกิดขึ้นในเวลาค่ำ 

- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แรงหรือผิดจังหวะ 

- อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยง่ายผิดปกติ

- เป็นลม หมดสติอย่างเฉียบพลัน หรือรู้สึกศีรษะเบาหวิว

แต่อย่างไรก็ตาม จากสถิติทางคลินิกพบว่าหัวใจพิบัติมักเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า โดยเฉพาะในผู้หญิง เจ้าตัวไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นโรคหัวใจ แต่อยู่ๆ ก็ล้มลง หายใจไม่ออก ต้องหามส่งโรงพยาบาล หรืออาจเสียชีวิตกระทันหัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงโชคร้ายกว่าผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มที่มีอาการเตือน ทำให้มีการรักษาและเอาใจใส่ตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยงที่คุณเปลี่ยนแปลงได้

     วิธีการดำเนินชีวิตมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าคุณอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ ประวัติครอบครัว อายุ เพศหรือเชื้อชาติ เป็นต้น แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันจะทำให้ลดความเสี่ยงได้ เช่น งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานผัก ผลไม้ ธัญพืชและเส้ยใยมากขึ้น ควบคุมน้ำหนัก ผ่อนคลายความเครียด

ข้อจำกัดของการทำบอลลูนและบายพาส
     เมื่อมีอาการแล้วไปพบแพทย์มักจะได้รับคำแนะนำให้ฉีดสี หากพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ อาจให้ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหรือในกรณีที่มีอาการมาก ต้องผ่าตัดหัวใจทำบายพาส

     การทำบอลลูน คือ การสอดท่อที่มีบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจเพื่อเบียดให้ไขมันแบนลงไปติดที่ผนังหลอดเลือดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไขมันในหลอดเลือดยังมีมากเท่าเดิมเพียงแต่ถูกเบียดให้แขนลงเท่านั้น หลอดเลือดของผู้ป่วยจึงมักจะกลับมาตีบใหม่ภายใน 3-6 เดือน ต้องทำบอลลูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันสูง โรคไต โอกาสมาตีบใหม่ก็จะเร็วขึ้น


ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus

ไม่มีความคิดเห็น: