วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มารู้จัก "หลอดเลือดเชื่อมน้ำตาล" กันครับ

มารู้จัก "หลอดเลือดเชื่อมน้ำตาล" กันครับ

     กินหวานมาก กินแป้งมากเกินไป ไม่ได้ทำให้อ้วนอย่างเดียว แต่ยังส่งผลเสียอีกมากมายต่อร่างกาย เช่น ทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอย จุดด่างดำ ทำให้เป็นสิว ทำให้แก่ก่อนวัย ทำให้เซลล์อักเสบ เซลล์ถูกทำลาย ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้แย่ลง ผนังหลอดเลือดแข็งและเปราะบาง ทำให้เลือดส่งอาหารและออกซิเจนได้แย่ลง ฯลฯ

     การกินอาหารที่มีหวานจัด หรืออาหารที่จำพวกแป้งขัดสีมากเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น พอระดับน้ำตาลในเลือดมีมากเกินไป ร่างกายจะมีตัวควบคุม คือ "ฮอร์โมนอินซูลิน" เปลี่ยนน้ำตาลในเลือด ไปเก็บในรูปของไกลโคเจน และไขมัน (พลังงานสำรองของร่างกาย) แต่สำหรับคนทั่วๆไปที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยๆ นั่งเป็นผักทั้งวัน ไกลโคเจนจะเต็มตลอดเวลา ดังนั้น ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือด เป็นไขมันสะสมทั่วร่างกายเลย ทำให้อ้วนขึ้นเรื่อยๆ ถ้ากินหวานมากๆไปเรื่อยๆ ตับอ่อนก็จะหมดแรง เซลล์ถูกทำลาย เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคอ้วน ฯลฯ

- เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้เกิดปฏิกิริยา "ไกลเคชั่น" (Glycation) คือ การที่น้ำตาลไปจับกับโปรตีน ซึ่งโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักของอวัยวะและเซลล์ต่างๆในร่างกาย ทำให้โปรตีนเปลี่ยนรูป ถูกทำลาย เซลล์บริเวณนั้นเสื่อมสภาพ

- เมื่อน้ำตาลไปจับกับคอลลาเจน รวมไปถึงใยโปรตีนในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดริ้วรอย ผิวหนังเหี่ยวย่น จุดด่างดำ ผิวหนังเกิดการอักเสบ

- ทำให้ผนังหลอดเลือด มีความยืดหยุ่นน้อยลง แตกเปราะได้ง่าย ทำให้การส่งอาหารและออกซิเจนเข้าสู่กล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆลดลง แผลจะหายยาก ปลายประสาทจะถูกทำลาย

- สมอง ไต และตา เป็นอวัยวะที่น้ำตาลเข้าไปได้โดยตรง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวาน ก็จะมีแนวโน้มที่จะเซลล์สมองถูกทำลาย สมองทำงานแย่ลง ตาเกิดต้อ และอาจจะทำให้ตาบอดได้ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดไตวายได้

- หากน้ำตาลไปจับโปรตีน DNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรม เป็นแม่พิมพ์ในการแบ่งเซลล์ จะทำให้เกิดความเสื่อมในระดับเซลล์ได้

- เพิ่มอนุมูลอิสระ (Oxidative Stress) ในร่างกาย ทำให้โครงสร้างต่างๆในร่างกายถูกทำลาย

     แต่อย่างไรก็ตาม น้ำตาลในเลือดก็เป็นสิ่งสำคัญ เป็นพลังงานหลักของสมองและร่างกาย ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก ก็จะทำให้ไม่มีแรง จะเป็นลม หน้ามืดหมดสติ สมองทำงานได้ไม่ดี ดังนั้นเราจะต้องรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ให้อยู่ในปริมาณที่ไม่มากหรือน้อยเกินไปตลอดทั้งวัน

มาดูวิธีรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดกันครับ

1. เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวานๆทุกชนิด

2. เลือกกินผลไม้สด แทนขนมหวาน

3. เลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่ทำให้น้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ อาหารที่มีใยอาหารมาก

4. ถ้าจะกินขนมหวาน ให้กินขนมหวานที่ผสมธัญพืชที่มีใยอาหารสูง เช่น ลูกเดือย ถั่ว ข้าวโพด เป็นต้น

5. หลี่กเลี่ยงการเติมน้ำตาลลงในอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อม น้ำตาลที่สกัดจากข้าวโพด(corn syrup) เป็นต้น

6. อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากกว่า 15 กรัม (3 ช้อนชา)

7. ให้เวลาร่างกายในการปรับตัว ทำให้ลิ้นและสมองปรับสภาพ ลดการติดหวาน โดยการค่อยๆลดหวานอย่างสม่ำเสมอ

8. ขยับร่างกายให้มากขึ้น และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
-----------------------------------------------------------

หวังว่าจะกลัวการกินหวาน กลัวการทำลายตัวเองกันบ้างนะครับ

ด้วยความปรารถนาดีจาก
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus



วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โรคพาร์กินสัน กับผู้สูงอายุ

โรคพาร์กินสัน กับผู้สูงอายุ
ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
            ร่างกายคนเราเมื่อเข้าสู่วัยชราก็เป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ โรคที่เกิดได้แก่ "โรคพาร์กินสัน" ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่จะส่งผลให้เกิดอาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคพาร์กินสัน
           1. ความชราภาพของสมอง มีผลทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน (เกิดจากกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำที่อยู่บริเวณก้านสมอง โดยทำหน้าที่สำคัญในการสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหว) มีจำนวนลดลง โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด
           2. ยากล่อมประสาทหลัก หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน โดยมากพบในผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันการคลุ้มคลั่ง รวมถึงอาการอื่น ๆ ทางประสาท แต่ปัจจุบันยากลุ่มนี้ลดความนิยมในการใช้ลง แต่ปลอดภัยสูงกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน
           3. ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้สมองลดการสร้างสารโดปามีน แต่ในระยะหลัง ๆ ยาควบคุมความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีผลทำให้ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่ส่งต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันต่อไป
           4. หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปามีนมีจำนวนน้อย หรือหมดไป
           5. สารพิษทำลายสมอง ได้แก่ สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์
           6. สมองขาดออกซิเจน ในกรณีที่จมน้ำ ถูกบีบคอ เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหาร เป็นต้น
           7. ศีรษะถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือโรคเมาหมัดในนักมวย
           8. การอักเสบของสมอง
           9. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ซึ่งเกิดจากการที่มีอาการของโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง สาเหตุมาจากธาตุทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา
           10. ยากลุ่มต้านแคลเซียมที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้อาเจียนบางชนิด

การสังเกตอาการของโรคพาร์กินสัน
           โดยทั่วไป อาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัดคือ
           1. อาการสั่น พบว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณร้อยละ 60 - 70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ จะมีอาการมากเป็นพิเศษ (4 - 8 ครั้ง / วินาที) แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมก็จะอาการสั่นลดลง หรือหายไป โดยมากพบอาการสั่นที่มือ และเท้า แต่บางครั้งอาจพบได้ที่คางหรือลิ้นก็ได้ แต่มักไม่พบที่ศีรษะ
           2. อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด
           3. เคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉง งุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น
           4. ท่าเดินผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที โอกาสที่จะหกล้มหน้าคว่ำจึงมีสูง นอกจากนี้ยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิดแนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์
           5. การแสดงสีหน้า ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมยไม่มีอารมณ์เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเพียงเล็กน้อย
           6. เสียงพูด ผู้ป่วยจะพูดเสียงเครือ ๆ เบา ไม่ชัด หากพูดนาน ๆ ไป เสียงก็จะค่อย ๆ หายไปในลำคอ บางรายที่อาการไม่หนัก เมื่อพูดน้ำเสียงจะราบเรียบ รัว และระดับเสียงจะอยู่ระดับเดียวกันตลอด นอกจากนี้น้ำลายยังออกมาและมาสออยู่ที่มุมปากตลอดเวลา
           7. การเขียน ผู้ป่วยจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อย ๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก ส่วนปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุกโดยส่วนมากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการแทรกซ้อน คือ ท้องผูกเป็นประจำ ท้อแท้ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย

การรักษาโรคพาร์กินสันมี วิธี คือ
           
1. รักษาด้วยยา ซึ่งแม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัวหรือกลับมางอกทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่ก็จะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ สำหรับยาที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ยากลุ่ม LEVODOPA และยากลุ่ม DOPAMINE AGONIST เป็นหลัก (การใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ ตามความเหมาะสม)
           2. ทำกายภาพบำบัด จุดมุ่งหมายของการรักษาก็คือ ให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติที่สุด สามารถเข้าสังคมได้อย่างดี มีความสุขทั้งกายและใจ ซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ
           ก) ฝึกการเดินให้ค่อย ๆ ก้าวขาแต่พอดี โดยเอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า และแกว่งแขนไปด้วยขณะเดินเพื่อช่วยในการทรงตัวดี นอกจากนี้ควรหมั่นจัดท่าทางในอิริยาบถต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะ รองเท้าที่ใช้ควรเป็นแบบส้นเตี้ย และพื้นต้องไม่ทำมาจากยาง หรือวัสดุที่เหนียวติดพื้นง่าย
            ข) เมื่อถึงเวลานอน ไม่ควรให้นอนเตียงที่สูงเกินไป เวลาจะขึ้นเตียงต้องค่อย ๆ เอนตัวลงนอนตะแคงข้างโดยใช้ศอกยันก่อนยกเท้าขึ้นเตียง
            ค) ฝึกการพูด โดยญาติจะต้องให้ความเข้าอกเข้าใจค่อย ๆ ฝึกผู้ป่วย และควรทำในสถานที่ที่เงียบสงบ
           3. การผ่าตัด โดยมากจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และมีอาการไม่มากนัก หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น อาการสั่นที่รุนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวแขน ขา มากผิดปกติจากยา ปัจจุบันมีการใช้วิธีกระตุ้นไฟฟ้าที่สมองส่วนลึกโดยผ่าตัดฝังไว้ในร่างกาย พบว่ามีผลดี แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างในการพัฒนาฟื้นฟูด้านร่างกาย รวมถึงจิตใจ ดังนั้นหากท่านมีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคชนิดนี้ จึงควรรีบนำมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคอันจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
 
ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus


วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ภาวะโลหิตเป็นพิษ Sepsis

ภาวะโลหิตเป็นพิษ Sepsis

หมายถึงภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือสารพิษของเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย 
การอักเสบดังกล่าวจะทำให้อวัยวะต่างๆเสียหาย ระบบแข็งตัวของเลือดผิดปรกติ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆลดลง อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง ในรายที่เป็นรุนแรงความดันโลหิตจะต่ำเรียกว่า Septic shock ซึ่งอันตรายมาก




คำนิยามโลหิตเป็นพิษ
Sepsis หมายถึงภาวะที่มีการอักเสบทั่วร่างกายซึ่งเกิดจากการที่ภูมิของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ และสารพิษที่เกิดขึ้น

Septicemia หมายถึงภาวะที่เชื้อเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด แหล่งที่ติดเชื้ออาจจะมาจากผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร 
ทางเดินปัสสาวะ

Severe sepsis หมายถึงภาวะ sepsis ที่มีภาวะอวัยวะทำงานบกพร่อง เช่น ตับ ปอด หัวใจ ประสาท

Septic shock เป็นภาวะ sepsis ที่มีความดันโลหิตต่ำแม้ว่าจะได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ

สาเหตุ
หากพิจารณาจากตัวเชื้อที่ให้เกิดโรคติดเชื้อเข้ากระแสโลหิตแบ่งตามความถี่ดังนี้

•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 40 เป็นแบคทีเรียรูปแท่งชนิดแกรมลบ (Gram negative bacteria เวลาย้อมสีจะติดสีแดง) เชื้อชนิดนี้จะพบได้ในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ

•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละประมาณ 30 เป็นแบคทีเรียรูปกลมชนิดแกรมบวก (Gram positive bacteria)
เป็นเชื้อที่พบตามผิวหนัง ระบบหายใจ

•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ5 เกิดจากแบคทีเรียชนิดก่อภาวะนี้ได้บ่อย เช่น H.influenzae, Neisseria meningitidis, Streptococcus pyogenes และ S.pneumoniae

•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 6 เกิดจากเชื้อรา

•ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 16 เกิดจากเชื้อหลายชนิด

หากจะพิจารณาจากตำแหน่งที่เกิดติดเชื้อจะแบ่งออกเป็น

1.อวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ หรือไส้ติ่งแตก ช่องท้องอักเสบ ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบหรือเป็นหนอง ลำไส้อักเสบ 
ตับอ่อนอักเสบ
2.ระบบประสาท ได้แก่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ
3.ระบบหายใจได้แก่ ปอดบวม ไซนัสอักเสบ
4.ผิวหนังได้แก่ แผลติดเชื้อ แผลเบาหวาน ฝี หนองที่ผิวหนัง 
ผื่นแพ้ที่มีการติดเชื้อ
5.ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้
ผู้ที่มีโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้จะเกิดโรคติดเชื้อเข้ากระแสโลหิตได้ง่าย

•ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้แก่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ ผู้ที่เป็นมะเร็ง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่นผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่รับประทานยา steroid เรื้อรัง
•ทารก
•ผู้สูงอายุ
•ผู้ที่นอนโรงพยาบาลนานต้องใส่สายต่างๆ เช่นสายสวนปัสสาวะ สายสำหรับป้อนอาหาร ท่อช่วยหายใจ
•ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
•ผู้ที่มีแผลที่ผิวหนัง เช่นแพ้ยา หรือน้ำร้อนลวก

อาการของผู้ป่วยโลหิตเป็นพิษเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยที่โลหิตเเป็นพิษมักจะมีอาการของอวัยวะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อ เช่น มีฝีที่ผิวหนัง หรือไอมีเสมหะ หรืออาการปวดท้อง หรือท้องร่วง หรือมีอาการปวดเอวร่วมกับปัสสาวะขัด แต่ก็มีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีอาการของแหล่งติดเชื้อ เช่นผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นต้น นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตเป็นพิษมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย

•ไข้สูงหนาวสั่น หรือบางรายอุณหภูมิต่ำกว่าปรกติ
•หายใจหอบ
•คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง
•สับสน กระวนกระวาย หรืออาจจะซึม
•ปัสสาวะออกน้อย
•ผิวอาจจะอุ่น แดง หรือซีดและเย็นก็ได้ขึ้นกับระยะของโรค
•ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

หากมีอาการตำแหน่งติดเชื้อร่วมกับอาการดังกล่าวให้พบแพทย์

เมื่อไรจึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคโลหิตเป็นพิษ

การจะวินิฉัยว่าโลหิตเป็นพิษจะต้องมีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้

1.จะต้องมีแหล่งที่ติดเชื้อซึ่งอาจจะมีอาการหรือสิ่งตรวจพบดังต่อไปนี้เป็นการพิสูจน์ว่าผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้อ ซึ่งจะใช้การตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาตำแหน่งที่กำลังมีการติดเชื้ออยู่ ได้แก่
•การเอกซเรย์ เช่น เอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในปอดหรือไม่
•การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เช่น 
อัลตราซาวน์ช่องท้องเพื่อดูว่ามีฝีเกิดขึ้นในช่องท้องหรือไม่
•การเจาะน้ำจากตำแหน่งต่างๆ เช่น น้ำไขสันหลัง น้ำในช่องท้อง น้ำในช่องปอด ตรวจพบเม็ดเลือดขาว หากพบแสดงว่ามีการติดเชื้อ 
•การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่
•ไอเสมหะสีเหลืองหรือเป็นหนอง หรือตรวจรังสีทรวงอกพบว่าเป็นปอดบวม
•มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
•เพาะเชื้อจากเลือดพบตัวเชื้อ

2.เมื่อมีอาการหรือแหล่งที่ติดเชื้อตามข้อ 1 จะต้องมีการตรวจพบในข้อสองอีกสองข้อได้แก่
•มีไข้มากกว่า 38 องศาหรือต่ำกว่า 36 องศา
•หายใจมากกว่า 20 ครั้งหรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
•หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที
•ตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า12000 เซลล์ต่อมม หรือน้อยกว่า 4000 เซลล์ หรือมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมากกว่า10%
หากมีอาการในข้อที่ 1 และมีการตรวจพบในข้อที่ 2 อีกสองข้อจะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือภาวะติดเชื้อเข้ากระแสเลือด

3.เป็นเกณฑ์ของการประเมินว่าภาวะโลหิตเป็นพิษเป็นชนิด severe sepsis หรือไม่ หากปรากฎว่ามีข้อใดข้อหนึ่งก็แสดงว่าเป็น severe sepsis
•ระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ หัวใจจะบีบตัวได้น้อยลง ความดันโลหิตก็จะยิ่งลดลง ยิ่งทำให้การส่งเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ น้อยลงไปอีกความดันโลหิตต่ำ ต้องใช้ยาเพิ่มความดันโลหิตโดยร่างกายไม่ขาดน้ำ
•ปอด การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนระหว่างปอดกับเลือดจะน้อยลง มีภาวะขาดออกซิเจน
•ไตเสื่อม ปัสสาวะออกน้อยกว่า0.5ซซ/กม/ชมในเวลา 2 ชม
•มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า80,000
•มีภาวะเลือดเป็นกรดpH<7 .30="" 1.5="" font="" nbsp="">
•สมอง จะเกิดอาการสับสน วุ่นวาย หรือซึม จนถึงขั้นโคม่า ในที่สุด
•ตับ ตับทำงานน้อยลงจะมีการคั่งของน้ำดี ทำให้มีอาการ 
ตัวเหลือง ตาเหลือง และตับยังจะหยุดผลิตสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดจึงออกได้ง่าย
•ระบบการแข็งตัวของเลือด นอกจากสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดซึ่งผลิตจากตับจะน้อยลงแล้ว ปริมาณเกล็ดเลือลดลงด้วย ทำให้เลือดออกง่าย ผู้ป่วยจะมีเลือดออกไม่หยุดเกิดขึ้นได้ในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ปอด สมอง ลำไส้ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

หลักการรักษา

1.การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
2.การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
3.การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
4.การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
5.การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
6.การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
7.การใช้เครื่องช่วยหายใจ
8.การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด

ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus

#Chlorophyll_Plus


วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เจ็บอก...เจ็บใจ สัญญาณเตือนภัย

เจ็บอก... เจ็บใจ สัญญานเตือนภัยที่ต้องรู้
โดย น.พ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต



          หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ทำงานทั้งกลางวัน กลางคืน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่พัก ทุก ๆ วัน หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณ 2,000 แกลลอน ทำงานหนักอย่างนี้ บางครั้งคนเรากลับไม่ค่อยทะนุถนอม ใจดวงน้อย ๆ นี้ ให้อยู่กับเราไปนาน ๆ นี่จึงเป็นเหตุที่ว่า คนยุคปัจจุบัน ตายด้วยโรคหัวใจเป็นอันดับต้น ๆ ในเมืองไทยบางปีก็เป็นอันดับหนึ่ง บางปีก็เป็นอันดับสองรองจากมะเร็ง

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ
          ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจมี 9 ประการ ใครมีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องรีบขนขวาย แสวงหาความรู้และวิธีการที่จะลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นลงให้ได้ ดังนี้
-ไขมันในเลือดสูง
-อ้วน
-เบาหวาน
-ความดันโลหิตสูง
-สูบบุหรี่
-ขาดการออกกำลังกาย
-กินผักผลไม้น้อย
-ความเครียด
-ดื่มแอลกอฮอล์

เรื่องไขมันในเลือดสูง อย่าคิดว่ามาจากการกินอาหารอย่างเดียว เพราะสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ บางคนระวังอาหารมาก แต่ไขมันก็ยังสูงได้ อีกประการหนึ่ง ความสำคัญของไขมันในเลือด ไม่ใช่อยู่ที่ค่าที่สูงอย่างเดียว เพราะไขมันมีทั้งตัวดี และตัวร้าย จึงต้องอาศัยการตรวจเลือด แยกแยะออกมา

          หากไขมันสูงแล้ว การกินยาลดไขมัน อาจไม่ใช่ทางออกเสมอไป เพราะยาลดไขมัน อาจมีผลทำลายตับ มีผลต่อการทำลายกล้ามเนื้อ และยาลดไขมันไประงับการทำงานของโคเอนไซม์คิวเทน ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการเต้นของหัวใจ และต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย 

แล้วถ้าไขมันสูงจะทำอย่างไร แนะนำให้ออกกำลังกาย รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ถ้าตามคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน ต้องทานผักและผลไม้วันละ 5 มื้อ ทานธัญพืชวันละ 7 มื้อ หากทำไม่ได้หรือทำแล้วก็ยังสูงอยู่ ก็ต้องใช้สารอาหารที่ช่วยลดไขมันตัวไม่ดี เช่น ไนอะซิน, เลซิติน, โทโคไทรอีนอล, ไซทรินอล, ไฟเบอร์, กระเทียม, ชาเขียว, ฯลฯ สารอาหารเหล่านี้ ไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาลดไขมัน

หมอเองไขมันสูงมาตั้งแต่อายุยี่สิบ เป็นพันธุกรรม ตอนนี้ค่าปกติดี ไม่ได้ใช้ยาเลย ผักผลไม้ก็ไม่ได้ทานบ่อย ไม่สะดวก ใช้แต่สารอาหารที่ว่ามาข้างต้น แล้วก็ทำคีเลชั่นเป็นครั้งคราว ออกกำลังกายก็อาศัยการซิทอัพ และวิดพื้นทุกเช้าตอนตื่นนอน ไม่มีเวลาไปหรอก ฟิตเนส อะไรนั้น ถ้าจะออกกำลังกาย อย่าหาข้ออ้างกับตัวเองเลย เริ่มต้นเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรสักอย่าง
เรื่องอ้วนลงพุง ก็เป็นปัญหาหลักแทบทุกคน เมื่ออายุขึ้นเลขสี่ ปัจจุบันเรารู้มากขึ้นว่า ไขมันส่วนเกิน ไม่ได้เป็นแค่ความอ้วนที่เห็นภายนอกอย่างเดียว แต่มันมีชีวิต มันผลิตสารอันตรายบางอย่างออกมา เป็นโมเลกุลที่ก่อการอักเสบ ทำให้เราตายเร็ว เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต หยุดหายใจตอนกลางคืน มะเร็ง และโรคความเสื่อมอื่น ๆ ดังนั้น อย่าให้ลงพุงเกินเหตุ อย่าให้น้ำหนักเกินมากไป

ส่วนการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเพชฌฆาตเงียบที่คนเรามักประมาทละเลย ทั้งบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ที่เข้าไปทำลายหลอดเลือด ทำให้เกิดการอักเสบและหลอดเลือดตีบตัน หักดิบเลิกได้ดีที่สุด หลายปีมานี้ผมมีคนไข้มาทำคีเลชั่นนับเป็นพันคน เส้นเลือดหัวใจตีบตันไปแล้ว บางคนกำลังจะไปทำบายพาส ตั้งแต่เริ่มต้นมาถึงปัจจุบัน มีเพียงสองคนที่ต้องไปบายพาส ทั้งสองคนเหมือนกันคือ ไม่ยอมเลิกบุหรี่ และสูบจัดทั้งคู่ คนหนึ่งทำคีเลชั่นไปได้ 5 ครั้ง วันหนึ่งไปทานเลี้ยง ทานอาหารเข้าไปมาก แล้วก็สูบบุหรี่ตาม ก็เกิด heart attack กะทันหันเข้าไปบายพาสทันที อีกคนหนึ่งทำจนครบ 30 ครั้ง หยุดไปประมาณเกือบปี กลับมาอีกทีทำบายพาสไปแล้ว เพราะ heart attack แกสูบบุหรี่มวนต่อมวน วันละหลายซอง เลิกไม่ได้ ผ่าตัดไปแล้วก็รีบกลับมาปรึกษา เพราะอาการเหนื่อยยังไม่ดีขึ้น ดังนั้นถ้ายังอยากเห็นลูกรับปริญญา หรือยังอยากเห็นหลานรับปริญญา ก็หักดิบเสียเถอะ เลิกให้หมดเลย มิฉะนั้นโอกาสตายก่อนสูงมาก วันรับปริญญาลูกหรือหลาน เขาคงเสียใจถ้าเราไม่อยู่ฉลองความสำเร็จเขา



อาการที่ต้องระวัง
โรคหัวใจที่เป็นกันมากที่สุด ก็คือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มักจะมีอาการเจ็บหน้าอก อาการเจ็บอกเจ็บใจ ที่เกิดจากหัวใจ จะมีอาการแน่น ๆ หายใจไม่ออก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม อ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

การป้องกันและรักษาแบบบูรณาการ
ถ้าหากว่าเป็นโรคหัวใจ หรือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ การไปหาหมอ ให้ตรวจอย่างละเอียด แล้วก็รับยามากิน แล้วคิดว่าดูแลดีแล้ว น่าจะผิด เพราะโรคนี้ต้องพึ่งตนเอง มากกว่าพึ่งยา ไม่ใช่ว่ายาไม่จำเป็น โดยเฉพาะถ้ามีปัจจัยเสี่ยงพวกเบาหวานและความดันโลหิตสูง ต้องใช้ยาคุมโรคให้ดี แต่เนื่องจากปัจจุบันเราพบว่าสาเหตุหลักของการที่หัวใจขาดเลือด 70% เกิดจากการอักเสบในหลอดเลือด โดยเฉพาะตรงตำแหน่งคราบอุดตันชนิดไม่เสถียร คือเป็นคราบไขมันชนิดบาง ๆ ที่แตกหรือฉีกง่าย เมื่อเกิดการแตกปริขึ้นบริเวณนั้น ก็จะก่อตัวเกิดเป็นลิ่มเลือด เข้าไปอุดตันหลอดเลือดอย่างเฉียบพลันทันที ส่วนที่เกิดจากการอุดตันแบบตีบเนื่องจากผนังหลอดเลือดหนาตัวจนเลือดเดินไม่ได้ มีเพียง 22% เท่านั้น ดังนั้น การลดการอักเสบในหลอดเลือด จึงเป็นหัวใจหลักของการรักษาแบบบูรณาการ เช่น การออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงอาหาร เลิกบุหรี่ เลิกแอลกอฮอล์ ใช้สารต้านอนุมูลอิสระ ลดโลหะหนักในเลือดและหลอดเลือด โดยการทำคีเลชั่น ฯลฯ และที่สำคัญที่สุดในสังคมเมืองยุคปัจจุบัน คือ ลดความเครียด พักผ่อนบ้าง มองโลกแง่บวก ฝึกสมาธิ แผ่เมตตา ให้อภัยผู้คน เข้าใจชีวิต รักษาสมดุลของอารมณ์ให้ดี ถ้ารักษาใจให้ดี ก็จะไม่เจ็บใจ ถ้าไม่เจ็บใจ ก็จะไม่เป็นโรคหัวใจ สวัสดี

ด้วยความปรารถนาดีจาก
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus


โฮโมซิสเทอีน ตัวการร้ายก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาต

คุณรู้ไหม ...โฮโมซีสเทอีน ตัวการร้ายก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาต

โดย น.พ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต
ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของประชากรโลก เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น แต่น่าแปลกที่พบว่า ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาล มีไขมันในเลือดปกติ ความดันปกติ ไม่สูบบุหรี่ แสดงว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องมีปัจจัยเสี่ยงชนิดอื่นที่ยังไม่ได้รับการตรวจหา
มีสักกี่คนที่รู้และเข้าใจถึงความร้ายกาจของ "โฮโมซิสเตอีน (Homocysteine)" โดยเฉพาะความร้ายกาจหรืออันตรายต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจเช่นเดียวกับคอเลสเตอรอล

โฮโมซิสเตอีน คืออะไร?
โฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) เกิดจากการเผาผลาญกรดอะมิโนจำเป็นในร่างกาย ที่มีชื่อว่า เมทไธโอนิน (Methionine) สารชนิดนี้พบมาในเนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส แป้งขาว อาหารบรรจุกระป๋อง และอาหารที่ผ่านกระบวนการดัดแปลงสูง ร่างกายของเราต้องการเมทไธโอนิน (Methionine) เพื่อการมีชีวิตอยู่ที่ดี มีความสมดุลต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนของระบบการย่อย การเผาผลาญสารอาหาร ระบบการดูดซึมสารอาหาร และระบบการลดสารที่เกินความจำเป็นหรือเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายมักจะเปลี่ยน โฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) เป็นซิสเตอีน (Cysteine) หรือเปลี่ยนกลับมาเป็นเมทไธโอนิน(Methionine)

Cysteine กับ Methionine เป็นผลิตผลที่ไม่มีพิษภัยต่อระบบการทำงานของร่างกาย แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยและเผาผลาญ Homocysteine เป็น Cysteine หรือเปลี่ยนกลับมาเป็น Methionine อีกครั้งหนึ่ง จะต้องใช้กรดโฟลิก วิตามินบี 12 และวิตามินบี 6 เพื่อทำให้ภารกิจเสร็จสิ้น ดังนั้นหากเรามีสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอแล้ว ระดับของ Homocysteine ในเลือดจะกลับมาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเข้าใจหรือไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของกระบวนการนี้ในร่างกายเรา จึงอยากจะนำเสนอผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องจากนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและมีความเชี่ยวชาญ
ในปี ค.ศ.1960 ดร.คิลเมอร์ แม็คคูลลี่ ซึ่งเป็นนักวิจัยทางด้านการแพทย์ที่มีชื่อเสียงในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์ทางด้านชีวเคมีและโรคภัยไข้เจ็บแห่งโรงเรียนทางการแพทย์ฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา จากผลงานวิจัยเรื่องนี้ ดร.แม็คคูลลี่ จึงได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติของการเป็นนักพยาธิวิทยาที่โรงพยาบาลแม็สซาชูเซทซ์ เจเนอรอล และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางพยาธิวิทยาที่โรงเรียนทางการแพทย์ฮาร์ดวาร์ด ได้ทำการศึกษาผลของ Homocysteine ต่อระบบการทำงานของร่างกาย ปริมาณที่มีผลต่อภาวะการเจ็บป่วย โดยสนใจและได้ศึกษาโรคในเด็ก ที่เรียกว่า Homocystinuria ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นในเด็กที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางพันธุกรรม เป็นเหตุให้มีการสลายกรดอะมิโนจำเป็น Methionine ผลตามมาที่เห็นได้ชัดเจนคือ ร่างกายเด็กเหล่านี้มีการสร้างโฮโมซิสเตอีนมากขึ้น ดร.แม็คคูลลี่จึงเริ่มทำกรณีศึกษาในเด็กผู้ชาย 2 คน เพราะมีความแปลกใจกับการเสียชีวิตของเด็กผู้ชายกลุ่มนี้ ซึ่งยังมีอายุไม่ถึง 8 ขวบจากภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวิเคราะห์การตรวจสอบแล้วพบว่ามีผลร้ายที่รุนแรงเกิดขึ้นในหลอดเลือดซึ่งเป็นอาการเช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่ประสบภาวะหลอดเลือดแข็งตัวขั้นวิกฤติ จากผลการตรวจสอบนี้ ดร.แม็คคูลลี่เกิดความสงสัยและศึกษาต่อว่าระดับ Homocystein ที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โดยสาเหตุจากความบกพร่องดังกล่าว

กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายเพื่อเผาผลาญและย่อยสลาย Homocysteine เรียกว่ากระบวนการ Methylation ที่น่าวิตกมากไปกว่านั้นคือ หากกระบวนการ Methylation มีปัญหาและเกิดได้ไม่สมบูรณ์จะไม่เพียงส่งผลต่อการลดระดับ Homocysteine ในเลือดเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการสร้างปัญหาให้เกิดโรคเกี่ยวกับความเสื่อมเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งและโรคอัลไซเมอร์
Homocysteine เป็นสารเคมีที่เกิดจากเมตาบอลิซึมของ Methionine ซึ่งร่างกายได้รับจากอาหารประเภทโปรตีน
โดยปกติ ระดับของ Homocysteine ในเลือดอยู่ระหว่าง 5-15 µmol/L ถ้าระดับของ Homocysteine ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังด้านในของหลอดเลือด (endothelial damage) ทีละน้อย จนในที่สุดทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน
Homocysteine เป็นสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผนังด้านในของหลอดเลือดโดยตรง ดังนั้นถ้า Homocysteine ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานานๆ ติดต่อกัน ผนังด้านในหลอดเลือดจะเริ่มขรุขระและเริ่มมี plaque เกิดขึ้นตามมาในที่สุดก็เกิดการอุดตัน หรือ ตีบแคบลงนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด หากได้รับการตรวจเช็คและแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ การก่อความเสียหายต่อผนังหลอดเลือดก็จะน้อยลง ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือตีบแคบลงตามไปด้วย

การเพิ่มสูงของ Homocysteine ในเลือดยังส่งผลเสียต่อหลอดเลือดทั่วร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดที่มีขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดในสมอง ดังนั้นการมีระดับ Homocysteine ในเลือดเพิ่มขึ้นก็อาจก่อให้เกิดอาการ อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต จากการตีบตันของหลอดเลือดในสมองได้เร็วกว่าวัยอันควร

Cholesterol กับ Homocysteine
พบว่าประมาณ 25-30% ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาลไม่พบปัจจัยเสี่ยงสำคัญๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง, ความดันสูง, สูบบุหรี่ เป็นต้น แสดงว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ ปัจจุบันพบว่า Homocysteine มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า Cholesterol งานวิจัยจากหลายสถาบันในสหรัฐอเมริกา พบว่าการมีระดับ Homocysteine ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นทำให้อัตราการเสี่ยงจากโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มสูงกว่า 2 เท่า ของคนที่มีระดับ Homocysteine ปกติ

ลักษณะอาการผิดปกติเมื่อค่าของสารโฮโมซีสเทอีนสูงจะมีลักษณะอย่างไร
อาการจะมีลักษณะคล้ายกับอาการของภาวะไขมันในเลือดสูงเหมือนกัน อาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องของอาการเจ็บแน่นหน้าอก ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีอาการอัมพฤกษ์ - อัมพาตเกิดขึ้น ในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาของหลอดเลือดโดยทั่วไปในสมองอุดตัน

วิธีการป้องกันไม่ให้สารโฮโมซีสเทอีนมีค่าสูงขึ้น
เนื่องจากสารโฮโมซีสเทอีนในเลือดเกิดจากการรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ต้องการให้เลือดมีระดับของสารโฮโมซีสเทอีนที่สูงกว่าความเป็นจริง เราก็ควรลดอาหารโปรตีนลงมา แล้วเพิ่มกลุ่มอาหารประเภทผักและผลไม้มากขึ้น พฤติกรรมการรับประทานแบบไทยๆ ดีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ระดับโฮโมซีสเทอีนในเลือดไม่สูงเกินไป และไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย และถ้าเราไม่แน่ใจว่ารับประทานอาหารกลุ่มต่างๆ ได้เพียงพอ แพทย์สามารถสั่งวิตามินที่มีความสำคัญในการลดระดับของโฮโมซีสเทอีนในเลือดลงมาได้ ก็จะทำให้ระดับโฮโมซีสเทอีนในเลือดไม่สูงเกินความเป็นจริงที่ควรจะเป็น อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้นกับผนังหลอดเลือด
สารโฮโมซีสทีนจะขับออกมาทางปัสสาวะ คือ ทางไต เพราะฉะนั้น การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนดีขึ้น ระบบสูบฉีดโลหิตดี สารโฮโมซีสเทอีนก็จะถูกขับถ่ายออกทางไตได้ดีมาก และจะเผาผลาญไขมันส่วนอื่นออกไปด้วย นอกจากนี้ การตรวจวัดระดับโฮโมซิสทีนอยู่เสมอ จะทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายดังกล่าวได้ดี อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมต่อภาวะสุขภาพร่างกายของตนได้อีกด้วย เพื่อลดความเสี่ยงจากการเผชิญกับโรคภัยต่างๆ

ด้วยความปรารถนาดีจาก
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus


วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ไตรกลีเซอไรต์และเอชดีแอล

ไตรกลีเซอไรด์และเอชดีแอล
จากการศึกษา InterHeart ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจาก 52 ประเทศ พบว่า คอเลสเตอรอล แอลดีแอลในเลือดที่สูง และ/หรือเอชดีแอลที่ต่ำ เพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจจะมากกว่าเบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ และความอ้วน เสียอีก



การตรวจไขมันในเลือดผิดปกติ ตรวจหาอะไร
เวลาจะตรวจไขมันว่าผิดปกติหรือไม่ มักจะถูกเจาะเลือดส่งไปตรวจระดับไขมันในเลือด 3 ชนิด คือ
คอเลสเตอรอล (ชื่อเต็มคือคอเลสเตอรอลรวม total cholesterol)
ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride หรือ ชื่อเดิม ไตรเอซีลกลีเซอรัล)
เอชดีแอล (ชื่อเต็มคือ เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล high density lipoprotein cholesterol: HDL-cholesterol หรือ HDL-C)

จากนั้นนำค่าไขมันทั้ง 3 ไปคำนวณหาค่าแอลดีแอล (ชื่อเต็มคือแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล low density lipoprotein cholesterol: LDL cholesterol หรือ LDL-C) ถ้าค่าไตรกลีเซอไรด์ไม่สูงเกิน 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

สถานพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการบางแห่งสามารถตรวจค่าแอลดีแอลได้โดยตรง (direct LDL-C) ก็ไม่ต้องเสียเวลามาคำนวณ และไม่ต้องตรวจคอเลสเตอรอลรวม แต่จะเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าการคำนวณ

กรณีที่ไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ก็ให้ตรวจแอลดีแอลโดยตรงแทน

รู้ค่าไขมันในเลือดไปทำไม
รู้หรือไม่ว่าไขมันในเลือดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยล้มตายของคนไทย และเพื่อนร่วมโลกของพวกเราอย่างไรบ้าง

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน: กล้ามเนื้อหัวใจตาย - หัวใจขาดเลือด
โรคหลอดเลือดสมองตีบ-ตัน-แตก: อัมพฤกษ์ - อัมพาต
โรคมะเร็ง
โรคที่มากับเบาหวาน
โรคที่มากับความดันโลหิตสูง
โรคที่มากับไขมันผิดปกติ
โรคที่มากับความอ้วน
โรคที่มากับการสูบบุหรี่
เป็นต้นเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้คนไทยและชาวโลกป่วยและตายมากที่สุด

โรคเหล่านี้ รวมเรียกว่า "โรคร้ายแห่งการพอกพูนสะสม" เพราะพอกพูนสะสมในหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หรืออวัยวะต่างๆ จนเกิดโรค

"เบาหวาน ความดันฯ ไขมัน บุหรี่ อ้วนพีมีพุง" ตัวมันเองมักไม่ค่อยมีอาการอะไร แต่นำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงตีบ-ตัน-แตก ที่หัวใจ สมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยล้มตายมากที่สุดของเมืองไทยและของโลก

ไขมันผิดปกติจึงเป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยหลักของการเกิดโรคร้ายแห่งการพอกพูนสะสมดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังอาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต รวมถึง โรคมะเร็งบางชนิดด้วย

การเจาะเลือดตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อหลอดเลือดแดง เพราะถ้ามีมากเกินไปจะรวมกันในรูปของสารลำเลียงไขมันที่เรียกว่า แอลดีแอล ซึ่งจะไปพอกพูนสะสมในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบตัน

คอเลสเตอรอลเปรียบเสมือนวัตถุดิบในการทำงานของร่างกาย แต่ถ้ามีมากจนเกินไปในเลือด เนื่องจากไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่หมดก็จะกลายเป็นขยะ เก็บอยู่ในเรือดำน้ำขนาดกลางคือ แอลดีแอล ซึ่งจะนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินนี้ไปสะสมเรี่ยราด ตามหลอดเลือดแดง จนตีบตัน

เอชดีแอลเป็นไขมันที่ดี เพราะถ้ามีมากจะช่วยนำไขมันคอเลสเตอรอลที่มากเกินไป กลับไปทิ้งที่ตับ

เอชดีแอลจึงเปรียบเสมือนเรือดำน้ำขนขยะขนาดจิ๋ว ถ้ายิ่งมีมากก็ยิ่งดี จะช่วยขนขยะคอเลสเตอรอล ไม่ให้ไปพอกพูนที่หลอดเลือดแดง

ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเป็นไขมันที่ไม่ดี เพราะถ้ามากเกินไปจะทำให้เอชดีแอลในเลือดต่ำลง แต่ถ้าไตรกลีเซอไรด์ต่ำลงเอชดีแอลจะสูงขึ้น

ไตรกลีเซอไรด์ จึงเปรียบเสมือนโซ่ล่ามเรือดำน้ำขนขยะ ซึ่งคอยล่ามเรือดำน้ำขนขยะขนาดจิ๋ว (เอชดีแอล) ไว้ในเรือดำน้ำขนาดใหญ่ ไม่ให้ออกมาขนขยะ

ถ้ามีโซ่ล่ามนี้มากก็เก็บเรือขนขยะเอาไว้ ไม่ให้ออกมาทำงานขนขยะคอเลสเตอรอล เรือขนขยะหรือเอชดีแอลในเลือดก็จะน้อยลง ถ้าโซ่ล่ามมีน้อย เรือดำน้ำขนขยะเอชดีแอลจะมีมากในกระแสเลือด

แล้วไขมันในเลือดตัวไหนสำคัญกว่ากัน
สำหรับคนไทยในเมืองที่ยังไม่เป็นโรคร้ายแห่งการพอกพูนสะสม เอชดีแอลสำคัญกว่า คอเลสเตอรอล แอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ เพราะเอชดีแอลต่ำลง จะเพิ่มโอกาสเสียชีวิต และเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และเอชดีแอลที่สูงขึ้นจะลดโอกาสเสียชีวิต และเกิดโรคดังกล่าว
แต่คอเลสเตอรอล แอลดีแอล ไตรกลีเซอไรด์ที่สูง เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสียชีวิต หรือเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองในคนไทย น้อยกว่าเอชดีแอล

เมื่อไหร่จึงควรไปตรวจไขมันในเลือด
ผู้ใหญ่ทุกคนควรไปตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เมื่อมีข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อต่อไปนี้
1. ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรือตัน ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (ที่ไปเลี้ยงแขนขา) อุดตัน อาจมีอาการเดินไประยะหนึ่งจะปวดน่อง ปวดต้นขา พักแล้วหาย เดินต่อระยะเท่าเดิมก็ปวดอีก หรือคลำชีพจรที่เท้าไม่ได้ หรือเบาลงกว่าที่แขน

2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด แดงแข็งอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
♦ เป็นเบาหวาน หรือกำลังกินยารักษาเบาหวานอยู่
♦ เป็นความดันโลหิตสูง หรือกำลังกินยารักษาความดันโลหิตสูงอยู่
♦ สูบบุหรี่ (รวมทั้งผู้ที่ต้องดมควันบุหรี่เป็นประจำ)
♦ มีประวัติครอบครัว หรือมีญาติใกล้ชิด เสียชีวิตหรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดงแข็ง (ในข้อ๑) เช่น หมอบอกว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเคยผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ (บายพาส) หรือเคยขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน ใส่ขดลวดที่หลอดเลือดหัวใจ หรือเคยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น โดยถ้าเป็นญาติฝ่ายชายเป็นโรคดังกล่าวเมื่ออายุน้อยกว่า 55 ปี หรือเป็นญาติฝ่ายหญิง เป็นเมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปี (เพราะเป็นโรคตอนอายุน้อยกว่าปกติที่ควรจะเป็น น่าจะมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์)
♦ หญิงวัยหมดประจำเดือน และมีปัจจัยเสี่ยง อื่นอย่างน้อย 1 ข้อข้างต้น

3. โรคที่ทำให้ไขมันในเลือดผิดปกติ
♦ โรคไตวายเรื้อรัง
♦โรคอ้วนพีมีพุง เมื่อมี 3 ใน 5 ข้อต่อไปนี้
- วัดรอบเอวเกินกว่า 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ 32 นิ้วหรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง
- ความดันโลหิตสูงกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท
- น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หลังงดอาหาร เครื่องดื่มมากกว่า 8 ชั่วโมง
- ไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- เอชดีแอลต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย ต่ำกว่า 50 ในผู้หญิง
♦ โรคเบาหวาน
♦ โรคไทรอยด์ทำงานต่ำ
♦ โรคตับ
♦ ยา เช่น กลุ่มสเตียรอยด์ (มักผสมในยาชุด)

4. มีลักษณะที่สงสัยว่ามีไขมันในเลือดสูง
มีก้อนไขมันที่บริเวณเส้นเอ็นร้อยหวาย ด้านหลังของข้อเท้า (เอ็นร้อยหวายมีขนาดโตกว่าปกติ) หรือมีก้อนไขมันเล็กๆ อยู่ใต้ผิวหนังคล้ายสิวที่หลัง และบริเวณสะโพก

ส่วนคนที่ไม่เข้าข่ายทั้ง 4 ข้อข้างต้นนั้น ไม่มีอาการและไม่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรจะตรวจ ไขมันในเลือดหรือไม่ ก็ขึ้นกับว่ามีปัจจัยเสี่ยงข้างต้นมากหรือไม่ ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ยิ่งควรไปตรวจ

ถ้าอาศัยอยู่ในเขตเมือง อายุมากกว่า 35 ปี ก็ควรจะตรวจไขมันในเลือด แต่ไม่ต้องตรวจทุกปีก็ได้ ถ้าไขมันในเลือดปกติ ควรตรวจซ้ำทุก 5 ปี ถ้าผิดปกติ ควรปรับเปลี่ยนการกินอยู่ให้สมดุล ประมาณ 3 ถึง 6 เดือน แล้วตรวจเลือดซ้ำ

ตรวจไขมันตัวไหนดี หรือตรวจทุกตัวเลยดีไหม
ถ้ามีข้อบ่งชี้ ตาม 4 ข้อข้างต้น จะต้องงดอาหาร งดเครื่องดื่ม (อาจจิบน้ำเปล่าเล็กน้อยได้) นานกว่า 12 ชั่วโมง เช่น งดอาหาร งดเครื่องดื่มตั้งแต่ 2 ทุ่ม แล้วได้เจาะเลือดตรวจไขมันในเลือด หลัง 08.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

เพราะการตรวจไตรกลีเซอไรด์ในเลือดจะต้องงดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง มิฉะนั้น ค่าที่ได้จะสูงเกินไป และบางครั้งแปลผลไม่ได้

ตรวจครบชุด หาทั้งค่าคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเอชดีแอล แล้วคำนวณหาค่าแอลดีแอล (กรณีที่ไตรกลีเซอไรด์ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ก็เป็นอันเสร็จพิธี
แต่ถ้าไม่ได้งดอาหารหรือไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป ก็แนะนำให้เจาะเลือดตรวจเฉพาะคอเลสเตอรอล และเอชดีแอล
ส่วนผู้ที่เข้าข่าย "ผู้ต้องสงสัย" จะมีภาวะ "อ้วนพีมีพุง" คือวัดรอบเอวได้มากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง และความดันเลือดตัวบนสูงกว่า 130 และ/หรือตัวล่างสูงกว่า 85 มิลลิเมตรปรอท

ก็ควรจะงดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อเจาะเลือดตรวจหาไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ และเอชดีแอล พร้อมทั้งแถมเจาะตรวจน้ำตาลในเลือดด้วย

ถ้าท่านมีรอบเอวที่เกินกำหนดดังกล่าว และ มี 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้คือ
1. ความดันเลือดตัวบนเฉลี่ยสูงกว่า 130 และ/ หรือตัวล่างเฉลี่ยสูงกว่า 85 มิลลิเมตรปรอท
2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (หลังงดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 12 ชั่วโมง)
3. ไขมันเอชดีแอล (ไขมันดี) ในเลือดน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย หรือน้อยกว่า 50 ในผู้หญิง
4. น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (หลังงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง)
การอยู่ในภาวะ "อ้วนพีมีพุง" "อ้วนลงพุง" "ว่าที่เบาหวาน" หรือ "ว่าที่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" แล้วแต่จะชอบคำไหน เพราะภาวะดังกล่าวเพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวานหลายเท่า และเพิ่มโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน 1.7 ถึง 4.9 เท่า

กลุ่มอาการอ้วนพีมีพุง หรืออ้วนลงพุง เรียกเล่นๆว่า โรค เอว-มัน-ดัน-หวาน หรือโรคเอวหวาน เป็นโรคที่เกิดก่อนจะเป็นโรคเบาหวาน

วิธีจำเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเอว-มัน-ดัน-หวาน ง่ายๆ คือ
1. รอบเอวเกิน 80 เซนติเมตรในผู้หญิง 90 เซนติเมตรในผู้ชาย
2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
3. ไขมันดี เอชดีแอล น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง
4. ความดันโลหิตสูงเกิน 130/85 มิลลิเมตรปรอท
5. หวานเกิน น้ำตาลในเลือดเกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ใช้เกณฑ์รอบเอวเกิน บวก 2 ใน 4 ข้อที่เหลือ หรือเกณฑ์ 3 ใน 5 ข้อก็ได้
วิธีจำตัวเลขง่ายๆ เป็นชุดๆ คือ 40 / 50, 80 / 90, 100 / 130 / 150
40 / 50 คือ เอชดีแอล ชายน้อยกว่า 40 หญิงน้อยกว่า 50
80 / 90 คือ รอบเอวหญิง เกิน 80 เซนติเมตร ชายเกิน 90 เซนติเมตร
100 / 130 / 150 คือ น้ำตาลในเลือด เกิน 100 ความดันโลหิตเกิน 130 และ ไตรกลีเซอไรด์เกิน 150

ดังนั้น ถ้าจะตรวจสุขภาพ ให้คุ้มค่าได้ประโยชน์ ก็ต้อง...
"ตรวจ" ทุกขภาพ เพื่อ "สร้าง" สุขภาพ
ไม่ใช่ "ตรวจ" สุขภาพ เพื่อ "สร้าง" ทุกขภาพ

ไขมัน น้ำมัน ของมันๆ ที่กินกันส่วนใหญ่เป็น ไตรกลีเซอไรด์
ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากสัตว์ หรือพืช ประกอบด้วยสารไตรกลีเซอไรด์เกือบทั้งหมด ส่วนสัตว์จะมีคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบเพิ่มขึ้นในเซลล์ของสัตว์ทุกชนิด ทั้งเนื้อ ไขมัน หนัง เครื่องใน หรือน้ำมัน

ไขมัน น้ำมันจากพืช ตัวมันเองมีแต่ไตรกลีเซอไรด์ ไม่มีคอเลสเตอรอล
ไขมันจากสัตว์ มีทั้ง ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล
ไตรกลีเซอไรด์ คือกลีเซอไรด์ 3 สายมารวมกัน (ไตร แปลว่า 3) และกลีเซอไรด์แต่ละสายประกอบด้วยกลีเซอรัลและกรดไขมัน
กรดไขมัน ก็อยู่ในไขมันจากสัตว์และพืชส่วนใหญ่ที่กินกันทั่วไป

ไขมันที่กินส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งร่างกายต้องการมากกว่า 100 กรัมต่อวัน เพื่อให้ได้กรดไขมันที่ร่างกายต้องใช้ประโยชน์ ใช้เป็นพลังงาน และได้วิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินเอ ดี อี และ เค

แต่ถ้ามากเกินไป จนสะสมอ้วนพีมีพุง ก็จะเกิดโทษ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง กรดไขมันมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะต้านอินซูลิน หรือดื้ออินซูลิน (สารอินซูลิน ที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ที่ตับและกล้ามเนื้อ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และเป็นเบาหวานตามมาได้)

ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (เจาะตรวจหลังงดอาหาร และเครื่องดื่มนานกว่า 12 ชั่วโมง เช่นงดอาหาร เครื่องดื่มทุกขนิดหลัง 2 ทุ่ม และเจาะเลือดหลัง 08.00 น. ของวันรุ่งขึ้น)

ค่าระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติ ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ค่าที่อยู่ระหว่าง 150 ถึง 199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าค่อนข้างสูง

ไตรกลีเซอไรด์สูง เมื่อมีระดับในเลือดระหว่าง 200 ถึง 499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ถ้าระดับสูงกว่า 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าเป็นระดับที่สูงมาก

เอช "ดี" แอล ดีสมชื่อ
เอชดีแอล หรือชื่อเต็มว่า เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล (high density lipoprotein Cholesterol: HDL-C) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมา หากินจากอาหารไม่ได้ (แปลว่าไม่มีอาหารที่มีเอชดีแอลสูง กินแล้วไปเพิ่มเอชดีแอลในเลือดเราให้สูงขึ้น)

ดังนั้น อย่าไปเชื่อว่าจะมีอาหารเสริมอะไรที่มีเอชดีแอลมาก กินแล้วเพิ่มเอชดีแอล

หน้าที่ของเอชดีแอล คือไปนำเอาคอเลสเตอรอลส่วนเกินที่ร่างกายใช้ไม่หมด ไปสะสมเรี่ยราดตามอวัยวะ และหลอดเลือดแดงกลับไปที่ตับ ขับออกเป็นน้ำดีลงสู่ลำไส้ ออกจากร่างกายทางอุจจาระ
เอชดีแอลจึงเปรียบเหมือนรถขนขยะคอเลสเตอรอลไปทิ้ง ยิ่งมีมาก ระดับยิ่งสูงในเลือด ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอล โดยเฉพาะ แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล (ไขมันไม่ดีถ้ามากเกิน) ไปพอกพูนสะสมในหลอดเลือด

นอกจากนี้ เอชดีแอลยังมีโปรตีนที่สามารถจับกับสารพิษของเชื้อโรคหรือแบคทีเรียเอนโดท็อกซิน ทำให้เชื้อโรคแบคทีเรียถูกร่างกายกำจัดได้ง่าย

ดังนั้น เอชดีแอลที่สูงก็ช่วยป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมคนเป็นเบาหวานมักจะมีเอชดีแอลที่ต่ำ และติดเชื้อง่าย

เอชดีแอล นอกจากจะเป็น "รถขนขยะ" ทั้งคอเลสเตอรอล และขนแบคทีเรีย เชื้อโรคไปทิ้ง/ถูกทำลายโดยเซลล์ตับ หรือเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย เอชดีแอลยังช่วยลดการอักเสบ ช่วยลดการเกาะกันเป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง ลดการออกฤทธิ์ของสารอนุมูลอิสระ (ของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นมา) ลดการตายของเซลล์ต่างๆ อีกด้วย

ผลโดยรวมทั้งหมดนี้ ช่วยให้ลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน จนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต

ค่าเอชดีแอลในเลือดที่ควรเป็น "ยิ่งสูง ยิ่งดี" จริงหรือ
เอชดีแอลในเลือดที่ดีคือ
ผู้ชายสูงกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ผู้หญิงสูงกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ผู้ที่มีระดับเอชดีแอลต่ำกว่านี้ จะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (โรคหัวใจขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต) เพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือขาดเลือด ยิ่งต่ำมาก ยิ่งเสี่ยงมาก

เอชดีแอลระดับต่ำกว่า 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าต่ำมาก ควรจะพบแพทย์หาสาเหตุ และรักษา เพื่อป้องกันโรคภัยที่จะเกิดตามมา

ระดับเอชดีแอลในเลือดที่สูงเกิน 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ทั้งชาย ทั้งหญิง) ถือว่าเป็นปัจจัยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้นจากคอเลสเตอรอล แอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ที่สูงกว่าปกติ

แต่ระดับเอชดีแอลที่สูงเกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

การที่ร่างกายสร้างไขมันเอชดีแอลออกมามากเกินไป อาจเกิดจากการทำงานของเอชดีแอลที่น้อยลงกว่าปกติ จึงต้องสร้างออกมามากๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มีเอชดีแอลมากๆ แล้วจะช่วยขนคอเลสเตอรอลไปทิ้งได้มากขึ้นเสมอไป

ดังนั้น ระดับเอชดีแอลที่ควรจะเป็นในผู้ชาย ควรอยู่ระหว่าง 40 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงควรอยู่ระหว่าง 50 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ดีที่สุดคือ อยู่ในระดับ 60 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรทั้งชายและหญิง
เพราะโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำที่สุด

สาเหตุที่ทำให้เอชดีแอลต่ำลง
อ้วนพุงยื่น โดยเฉพาะไขมันสะสมมากที่พุง และอวัยวะภายในช่องท้อง
ภาวะดื้ออินซูลิน หรือต้านอินซูลิน (อินซูลินที่สร้างจากตับอ่อน ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปเผาผลาญ เป็นพลังงานที่ตับ และกล้ามเนื้อ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง และเอชดีแอลต่ำลง เพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวานตามมา)

กลุ่มอาการอ้วนพีมีพุง (เอว-มัน-ดัน-หวาน) มีภาวะอ้วนลงพุง ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง เอชดีแอลต่ำ ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง (หวาน) และภาวะดื้ออินซูลิน

เบาหวาน (น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง เอชดีแอลต่ำลง)
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (ทำให้เอชดีแอลมีขนาดเล็กลง ถูกขับถ่าย หรือทำลายได้ง่ายขึ้น เอชดีแอลในเลือดจึงต่ำลง ตรงข้ามกับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้น )

กินอาหารไขมันต่ำมากเกินไป หรือกินยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลรวม ซึ่งมีทั้งแอลดีแอลคอเลสเตอรอล และเอชดีแอล-คอเลสเตรอลลต่ำลงหมด นอกจากนี้ เมื่อคอเลสเตอรอลในเลือดไม่สูง แสดงว่าไม่มีคอเลสเตอรอลที่ใช้ไม่หมด หรือเหลือในร่างกาย ร่างกายก็ไม่ต้องสร้างเอชดีแอล เป็นรถขนขยะ ระดับเอชดีแอลก็ต่ำลง เวลาระดับคอเลสเตอรอลต่ำลง

ไตรกลีเซอไรด์สูง เอชดีแอลต่ำ
หลายๆ คนที่ได้ผลตรวจไขมัน เมื่อรู้ว่าไตรกลีเซอไรด์สูงไป เอชดีแอลต่ำไป ก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะ...
รู้สึกสบายดี ไม่มีอาการอะไรเลย
สูงอย่างนี้ ต่ำอย่างนี้ มาตั้งนานแล้ว ไม่เห็นจะเป็นไรเลย

ความจริง คนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง มักจะไม่มีอาการที่รู้สึกผิดปกติเลย ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง สูบบุหรี่ อ้วนพีมีพุง หรือแม้แต่โรคเบาหวาน น้ำตาลสูงไม่มากนัก ก็อาจไม่มีอาการผิดปกติอะไร

เกินครึ่งของคนไทยที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันผิดปกติ (คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์สูง เอชดีแอลต่ำ) ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมาก่อน
"ไม่ตรวจ ก็ไม่รู้ ต้องมาตรวจถึงจะรู้"

จึงมีคนตั้งฉายาปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ว่า "ภัยมืด" บ้าง "ฆาตกรเงียบ" บ้าง เพื่อกระตุ้นให้คนตระหนัก ถึงผลร้ายแรงที่จะตามมา และบอกให้รู้ว่า...
ไม่ต้องรอให้เกิดอาการ มิฉะนั้นจะสายเกินแก้ เพราะอาการแรกที่เกิดกับเรา อาจเป็นอาการหมดสติ เสียชิวิตเฉียบพลัน อัมพาต หรือกล้ามเนื้อ หัวใจตายก็ได้

ทุกครั้งที่เจาะเลือดตรวจไขมันในเลือด จำเป็นต้องได้รับประโยชน์จากการตรวจให้เต็มที่ โดยตระหนักถึงความผิดปกติของไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอล แอลดีแอล ไตรกลีเซอไรด์ สูงกว่าปกติ และ/หรือเอชดี-แอล ต่ำกว่าปกติ) ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งในการทำให้ชีวิตเราสั้นลง เกิดโรคร้ายแห่งการพอกพูนสะสมตามมาได้ ห้ามประมาท หรือไม่ใส่ใจในสัญญาณเตือนภัยนี้

ขณะเดียวกัน ก็จะต้องรู้ต่อว่าความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว มากน้อยเพียงใด และดูแลแก้ไข ผ่อนหนักเป็นเบา ผ่อนเบาเป็นหาย ได้อย่างไร

ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus



วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โทษไขมันอิ่มตัว

คำสารภาพของวงการการแพทย์ระดับโลก ว่าด้วยข้อเท็จจริงของเรื่องโทษไขมันอิ่มตัว กับโรคต่าง ๆ

ซึ่งเป็นการเผยแพร่ที่ดังระดับโลกในปัจจุบันอีกรอบก็ว่าได้  เป็นการพลิกวงการแพทย์แผนปัจจุบันเลยทีเดียว
ความเชื่อทางวงการแพทย์ที่หลงผิด

และในวันนี้ก็จะมีหมอผู้มีประสบการณ์ตรงออกมาเป็นพยานและแนวร่วมอีกท่านหนึ่งนอกเหนือจาก นายแพทย์ Stephen Sinatra , Julian Whitaker , Mark Hyman , Mehmet Oz ฯลฯ ที่ได้เป็นเถวหน้าออกมาช่วยกันเผยแพร่ความเป็นจริงที่สั่นสะเทือนวงการแพทย์กระแสหลัก Main stream Medicine จนล้มคว่ำความหลงผิด หลงเชื่ออย่างผิดๆตลอดมากว่า 60 ปี

นายแพทย์ Dr. Dwight Lundell อดีตเป็นหัวหน้าทีมแพทย์ผ่าตัดที่ Banner Heart Hospital , Mesa , AZ.สหรัฐอเมริกา เป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด มากว่า 25 ปี เคยผ่าตัดหัวใจมามากกว่า 5,000 ราย ผ่าตัดหลอดเลือดเลี่ยงหัวใจ (bypass)  มาหลายหมื่นเส้น ประสบการณ์ขนาดนี้เราคงไม่ปฏิเสธว่าท่านมีประสบการณ์ตรงไม่ใช่นักวิจัย นักวิชาการในหอคอยงาช้างเป็นแน่

“แต่ในวันนี้ผม (Dr. Dwight Lundell) ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และขออภัยอย่างที่สุดเพื่อออกมาสารภาพผิดกับท่านทั้งหลายว่า ความเชื่อของผมและเหล่าบรรดาแพทย์ร่วมทีมของผมเกี่ยวกับสาเหตุตลอดจนการจัดการการรักษาโรคหัวใจที่กระทำตลอดมานั้นไม่ถูกต้อง วันนี้ผมจำเป็นต้องออกมาแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้องเสียที ผมต้องยอมรับว่ากระบวนการเรียนการสอน งานวิจัย สัมมนาวิชาการ วิทยานิพนธ์สารพัดที่ผมได้ใช้เป็นแนวทางการวินิจฉัยสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด และการรักษาที่ผ่าน ๆ มานั้นไม่ถูกต้อง”

“ ครับเป็นเวลากว่า 60 ปีที่วงการแพทย์ต่างหลงเชื่อว่าสาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นเกิดจาก คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว ดังนั้นหมอโรคหัวใจอย่างพวกผมจึงเพ่งเล็งการรักษาไปที่การทานยาลดคลอเลสโตรอลร่วมกับลดหรืองดการบริโภคไขมันอิ่มตัว แต่จากหลักฐานที่ปรากฏชัดมากขึ้นไมกี่ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อข้างต้นไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นความจริง และไม่ควรเชื่ออีกต่อไป “

“ ชัดเจนมากว่าการอักเสบภายในผนังหลอดเลือดต่างหากที่เป็นตัวการที่แท้จริงทำให้หลอดเลือดตีบตัน โรคหัวใจ โรคร้ายแรงเรื้อรังอีกสารพัด”

Dr. Dwight Lundell ได้เรียบเรียงไว้ให้เข้าใจ เพื่อจะได้เผยแพร่ต่อๆ กันไปได้ง่ายขึ้น

1. จากการที่วงการแพทย์มีความเชื่ออย่างผิดๆ ดังกล่าว มีผลให้วงการโภชนาการตลอดระยะ 60 ปีที่ผ่านมาเดินผิดทางไปหมด  อุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการที่เดินผิดทางได้สร้างประชากรโลกที่เต็มไปด้วยโรคอ้วน เบาหวาน และโรคเซลล์เสื่อมอีกสารพัดโรค สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเศรษฐกิจอย่างไม่สามารถประเมินได้ทีเดียว นับเป็นเรื่องน่าเศร้าของมนุษยชาติ

2. ทั้งๆ ที่มีประชากร (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) ประมาณ 25% ที่ทานยาลดไขมันกลุ่ม statin ราคาแพงๆ และมีสารพัดอาหาร Low fat , Fat free มีการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวกันอย่างมากมาย แต่ผลลัพธ์กลับเป็นว่า มีประชากรเสียชีวิตอันเนื่องจากโรคหัวใจภายในรอบเวลา 60 ปีนี้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา รายงานว่า มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 75  ล้านคน มีผู้ป่วยเบาหวานกว่า 20 ล้านคน มีผู้ป่วยใกล้จะเป็นเบาหวาน (pre-diabetes) กว่า 57 ล้านคน  ในขณะที่มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า อายุเฉลี่ยของผู้ที่เริ่มป่วยด้วยโรคเหล่านี้ล้วนมีอายุน้อยลงๆ (เป็นโรคกันตั้งแต่เด็ก)  มีคำถามตัวโตๆ ว่าทำไม??

3. คำตอบที่ง่ายๆ สั้นๆ ที่สุดก็คือ หากไม่มีการอักเสบในร่างกาย ก็ไม่มีทางที่คลอเลสโตรอลจะจับเป็นตะกรันอุดตันในหลอดเลือดได้ หากไม่มีการอักเสบคลอเลสโตรอลก็จะไหลลื่นไปตามหลอดเลือดได้อย่างเสรี การอักเสบนี่แหละที่ทำให้คลอเลสโตรอลต้องกลายพันธุ์เป็นตะกรันจับยึดติดภายในหลอดเลือด !!!

4. การอักเสบไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร มันคือขบวนการปกติของร่างกายเพื่อต่อสู้รับมือกับสิ่งแปลกปลอมที่รุกรานเข้ามาในร่างกาย เช่นเชื้อโรค ไวรัส พิษต่างๆ  แต่เมื่อใดก็ตามขบวนการอักเสบควบคุมผู้รุกรานไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รุกรานที่เกิดจากพิษ ร้ายในอาหารการกินที่เซลล์ของร่างกายไม่คุ้นเคย กำจัดไม่ได้ จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง  (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า)  การอักเสบเรื้อรังนี่แหละคืออันตรายอย่างแท้จริง

5. พิษร้ายในอาหารการกินที่ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังมากที่สุดก็คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน  (polyunsaturated fats)  ที่อยู่ในน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เช่น  น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ และน้ำตาลสูงๆ ในแป้งขัดขาวและอาหารคาร์โบไฮเดรตทั้งหลายนั่นเอง ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ขนม ได้นำน้ำมันพืชและน้ำตาลไปปรุง เจือปน เป็นส่วนประกอบกันอย่างมโหฬาร ตลอดเวลา 60 ปีที่ผ่านมา

6. ท่านอาจไม่เคยเห็นสภาพผนังหลอดเลือดที่อักเสบเหมือนที่ผมเห็นและทำการผ่าตัดมาหลายหมื่นเส้นตลอด 25 ปีที่ผ่านมา  แต่ผมพอจะเทียบเคียงง่ายๆ โดยให้ท่านหาแปรงสีฟันขนแข็งๆ อันหนึ่งแล้วก็ถูไปมาบนผิวนุ่มๆ บริเวณท้องแขน ถูไปมาจนค่อยๆ แดง เลือดซิบๆ  นั่นแหละสภาพผนังหลอดเลือดที่อักเสบก็คล้ายกันคือ ช้ำๆ เลือดซิบๆ นานๆ เข้า หากยังคงอักเสบต่อเนื่องเลือดก็จะมาคั่งมากขึ้นจนบวม จนเลือดอาจทะลักมาตามแผลที่แตก

7. ผนังหลอดเลือดที่อักเสบนั้นไม่ได้ถูกแปรงใดๆ ไปขัดถู แต่เนื่องจากร่างกายเรามีระบบควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ภายในระดับที่คงที่ ไม่เกินโควต้า (ในเลือดของคนปกติไม่เป็นเบาหวานจะมีน้ำตาลลอยปนในกระแสเลือดไม่เกิน 6-7  กรัมแล้วแต่ขนาดตัวและปริมาณเลือดในร่างกาย)  ทันทีที่เราทานอาหารที่อุดมด้วยน้ำตาลปริมาณที่มากเกินโควต้า ฮอร์โมนอินซูลินจะรีบทำการขนน้ำตาลที่ทะลักเข้าสู่กระแสเลือดไปเก็บไว้ในเซลล์ก่อนที่จะแปลงสภาพเก็บในรูปของไขมัน แต่หากน้ำตาลภายในเซลล์มีพอเพียงอยู่แล้ว อินซูลินก็ต้องหาทางรีบขับหรือกำจัดออกจากร่างกายต่อไป  น้ำตาลที่เป็นส่วนเกินในกระแสเลือดจะเข้าไปจับตัวกับโปรตีนหลายๆ ชนิดในเลือด กลายสภาพเป็นตัวทำร้ายผนังหลอดเลือดให้อักเสบ การทานน้ำตาลมากวันละหลายๆ มื้อจึงเสมือนกับการเอาแปรงไปขัดถูผนังหลอดเลือดจนถลอกครั้งแล้วครั้งเล่า จนอักเสบเรื้อรังวันแล้ววันเล่า ผมอยากจะย้ำๆ กับท่านว่าผมซึ่งผ่าตัดหัวใจมากว่า 5,000  คน ผ่าตัดเส้นเลือดมาหลายหมื่นเส้น  ภาพการอักเสบเรื้อรังในหลอดเลือดมันติดตาผมว่าไม่ได้แตกต่างจากภาพที่ท่านเห็นหลังจากเอาแปรงขนแข็งขัดถูผิวหนังนุ่มบอบบางจนช้ำ จนเลือดไหลซิบๆ จนบวมปูด เลือดไหลแต่อย่างใด ต่างกันเพียงว่าน้ำตาลที่ทานเข้าไปวันละหลายๆ มื้อ หลายๆปีนี่แหละเสมือนกับแปรงที่ค่อยๆ ขัดถูผนังหลอดเลือดจนถลอกปอกเปิก อักเสบเรื้อรัง

8. นอกจากน้ำตาลแล้วกลับมาพูดถึงน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ  โดยธรรมชาติผนังหุ้มเซลล์ต่างๆ ของร่างกายนั้นมีส่วนประกอบหลักทำด้วยไขมันหลากหลายชนิดผสมผสานกันเพื่อให้คงความนุ่ม ยืดหยุ่น แต่คงรูป  เกลือแร่สารอาหารซึมผ่านเข้าไปในเซลล์ได้เหมาะสม  ขยะของเสียซึมผ่านออกจากเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสัดส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 และไขมันโอเมก้า-3 ที่ดีคือ ไม่เกิน 3:1  แต่ผลจาการที่วงการแพทย์หลงผิดและเผยแพร่ความเชื่อว่าสาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นเกิดจาก คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว จนทำให้อุตสาหกรรมอาหารเกาะกระแสโปรโมทน้ำมันพืชว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัว อุดมด้วยไขมันโอเมก้า-6  บางชนิดก็โหมกระแสว่ามีไขมันโอเมก้า-3 อีกต่างหาก เลยกลายเป็นว่าทุกครัวเรือนต่างเลิกทานน้ำมันปรุงอาหารแต่ดั้งเดิมกลับมาฝากสุขภาพกับไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหลายโดยเฉพาะน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ทั้งยังแทรกซึมลงไปในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทุกแขนง เราจึงมักพบขนมขบเคี้ยวทั้งหลาย ฟาสต์ฟู๊ดทั้งหลายล้วนกระหน่ำการใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเป็นส่วนผสมและปรุง  เช่นมันฝรั่งทอด กรอบที่ผ่านการทอดและชุ่มด้วยน้ำมันพืช (โดยไม่มีใครเฉียวใจเลยว่าน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเหล่านี้เปิดฝาขวดทิ้งไว้เป็นปีก็ยังไม่เหม็นหืน ?  ทั้งๆ ที่โดยหลักการแล้วไขมันไม่อิ่มตัวทั้งโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 นั้นจะถูกออกซิไดส์โดยออกซิเจนในอากาศได้อย่างง่ายดาย  แต่ไม่เคยมีใครเฉลียวใจกับคำศัพท์ที่ว่า”   "ผ่านกรรมวิธี”  เลยว่าผ่านอะไรมาทำไมจึงไม่เหม็นหืน ????

9. ผลจากการที่วงการแพทย์เดินผิดทาง ภาวะโภชนาการของประชากรโลกก็เลยเดินเป๋จนพิกลพิการ ในอเมริกาพบว่าอาหารการกินของประชากรขาดความสมดุลอย่างรุนแรง สัดส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 และไขมันโอเมก้า-3 กลายเป็น 15:1  จนถึงระดับวิกฤติ คือ 30:1  ผลก็คือผนังหุ้มเซลล์เสียหายอย่างรุนแรงและปลดปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า  cytokines ออกมาทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและรุนแรง

10. ปัญหายิ่งหนักสาหัสขึ้น เมื่อมีภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน  ทานไขมันเหล่านี้ปริมาณมากเกินไป ทานน้ำตาลมาก ก็ยิ่งทำให้ปริมาณ  cytokines  และสารเร่งการอักเสบนานาชนิด หลั่งออกมามากเป็นทวีคูณ ตกเข้าสู่วัฏจักรเลวร้ายเต็มขั้นจน กลายไปเป็นโรคเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบตัน เส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัลไซเมอร์ ฯลฯ ผมขอย้ำว่าร่างกายมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ทนทานต่อปริมาณน้ำตาลท่วมเลือด หรือ ไขมันโอเมก้า-6  ปริมาณสูงๆ จากน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา ท่านทราบไหมว่าน้ำมันข้าวโพด 1  ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 สูงถึง 7,280  mg น้ำมันถั่วเหลือง 1  ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 สูงถึง 6,940  mg  ตรงกันข้ามกับไขมันในเนื้อสัตว์ธรรมชาติซึ่งมีไขมันโอเมก้า-6 ไม่เกิน 20%

11. ยังคงเหลือทางรอดสำหรับประชากรโลกก็คือกลับไปสู่เมนูอาหารที่ปรุงสด ผ่านกรรมวิธีผ่านการแปรรูป ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้  ตัดน้ำตาลและความหวานทั้งหลาย ตัดน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (ผ่านกรรมวิธีอะไรเป็นปีๆ จึงไม่เหม็นหืน?)  ออกไปเสียจากวงจรอาหารในชีวิตประจำวัน

** แชร์บทความความรู้นี้ไปยังผู้ป่วย เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาต่อไป **
ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus

#Chlorophyll_Plus

โรคเลือดข้น (โรค MPN) มฤตยูเงียบ

'โรคเลือดข้น' มฤตยูเงียบ
ภาวะซีด เหนื่อยง่าย คันตามร่างกายโดยหาสาเหตุไม่ได้ เหงื่อออกมากเวลานอนจนต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอน อย่าชะล่าใจกับสัญญาณเตือนว่า 'มะเร็งโรคเลือด' อาจกำลังมาเยือน
มะเร็งโรคเลือด หรือโรคเอ็มพีเอ็น ( Myeloproliferative neoplasm) ไม่ใช่โรคที่แปลกใหม่ วงการแพทย์พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้กับประชาชน โดยเน้นให้ทราบถึงอาการผิดปกติเบื้องต้น เพื่อรับการรักษาได้ทันการณ์
ก่อนที่จะรู้ว่าโรคเอ็มพีเอ็นคืออะไร พอ.นพ.อภิชัย ลีละสิริ ผู้อำนวยการกองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ต้องเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของเลือดในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด เพื่อให้ทราบว่าโรคนี้เกิดขึ้นที่ส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง แล้วเมื่อเกิดขึ้นกับร่างกายของเราแล้วจะส่งผลร้ายอย่างไร
ความผิดปกติของระบบผลิตเม็ดเลือด ทราบได้จากการตรวจเลือดดูความสมบูรณ์และปริมาณเม็ดเลือดแดง กรณีที่มีมากเกินไปจะมีผลให้เลือดข้นไหลเวียนได้ช้า เสี่ยงที่จะเกิดอาการเส้นเลือดอุดตันตามมา ขณะเดียวกันหากร่างกายผลิตน้อยก็เสี่ยงที่จะอยู่ในภาวะโลหิตจาง ตัวซีดและเหนื่อยง่าย
เม็ดเลือดขาวก็เช่นเดียวกันถ้ามีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เลือดข้น ไหลเวียนช้า แต่หากร่างกายผลิตได้น้อยจะทำให้ร่างกายมีโอกาสที่จะติดเชื้อโรคง่ายกว่าปกติ และในคนที่มีปัญหาเรื่องเกล็ดเลือด หากร่างกายผลิตเกล็ดเลือดมากเกินไปก็เพิ่มความเสี่ยงในการอุดตันได้เช่นกัน แต่หากน้อยเกินพอดีก็เสี่ยงที่จะทำให้เลือดออกง่าย แต่หยุดยาก
ความผิดปกติของระบบเลือดในร่างกาย สังเกตจากอาการที่ปรากฏคือ ภาวะซีด เหนื่อยง่าย คันตามร่างกายโดยหาสาเหตุไม่ได้ เหงื่อออกมากเวลากลางคืน กินอาหารได้น้อยลง รวมถึงมีอาการเจ็บแถวบริเวณใต้ชายโครง ซึ่งเป็นตำแหน่งของตับและม้าม เพราะตับหรือม้ามอาจมีขนาดที่โตกว่าปกติอยู่ อ่อนเพลียง่าย เป็นต้น
ส่วนสาเหตุความผิดปกติมาจาก 2 สาเหตุคือ พันธุกรรมและเกิดขึ้นในภายหลังเพราะร่างกายทำงานผิดปกติ โดยกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดผิดปกติ
สำหรับวิธีการรักษามะเร็งโรคเลือดด้วยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ซึ่งสร้างความหวังสูงสุดให้กับคนไข้ว่าจะต้องหายแน่นอน แต่แท้จริงแล้วเป็นวิธีที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ ในทางการแพทย์ เพราะต้องอาศัยปัจจัยที่เอื้อต่อการรักษาอีกหลายประการร่วมด้วย หรือกรณีคนไข้ม้ามโต แพทย์อาจให้กินยาลดขนาดม้าม แต่ก็มีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวได้น้อยลง หรือหากฉายแสงทำให้ม้ามยุบได้ 2 เดือนก็กลับมาโตใหม่และทำซ้ำไม่ได้แล้ว
“โรคเอ็มพีเอ็นเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นแล้วรักษาไม่หายขาด แต่เป้าหมายของการรักษาก็เพื่อบรรเทาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค รวมถึงทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำอย่างถูกวิธี กินยาสม่ำเสมอไปตลอดไม่มีดื้อ รู้ควบคุมไขมันในเลือดและงดสูบบุหรี่ซึ่งเป็นตัวการทำให้ภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากขึ้น คนไข้ก็สามารถที่จะมีชีวิตยืนยาวไม่ต่างจากคนปกติ” พอ.นพ.อภิชัย กล่าว
ทำความรู้จักโรคเอ็มพีเอ็น
โรคเอ็มพีเอ็นเป็นกลุ่มของโรคเลือด ที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด โดยเฉพาะ 3 โรคที่พบบ่อยคือ
1. โรคเลือดข้น เนื่องจากร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันบริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง และบริเวณปลายนิ้ว และทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ การรักษาจะให้ยาต้านเลือด
2. โรคเกล็ดเลือดสูง จะมีการอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ วูบบ่อยๆ หลอดเลือดอุดตัน ปวดบริเวณปลายนิ้ว บางกรณีกลายเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตครึ่งซีก ขาบวมและปวดข้างเดียว รักษาได้ด้วยการรับประทานยา
3. โรคผังผืดในกระดูก ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ แต่ต่อมาจะมีอาการม้ามโต แน่นท้อง อิ่มง่าย กินอาหารได้น้อย ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย อ่อนเพลียง่าย ตับอาจจะโตขึ้นทำให้แน่นท้องใต้ชายโครงขวา ต่อมาจะมีอาการคัน และเหงื่อออกตอนกลางคืน หากโรคอยู่ในระยะสุดท้ายอาจจะมีไข้ อ่อนเพลียมาก ผอมแห้ง ปวดกระดูก ปวดตามเส้นประสาท
การรักษาจะทำได้ด้วยการรับประทานยา การรับเลือดและการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับเลือดบ่อยๆ อาจจะเกิดภาวะเหล็กในร่างกายสูงและสะสมอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในกรณีที่ม้ามโตจะต้องรักษาด้วยการรับประทานยาลดขนาดม้าม หรือฉายรังสี และตัดม้าม
Tags : โรคเอ็มพีเอ็น,เลือด,สุขภาพ,มะเร็งโรคเลือด,พอ.นพ.อภิชัย ลีละสิริ

ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus


โรคเลือดข้น (โรค MPN) มฤตยูเงียบ

'โรคเลือดข้น' มฤตยูเงียบ
ภาวะซีด เหนื่อยง่าย คันตามร่างกายโดยหาสาเหตุไม่ได้ เหงื่อออกมากเวลานอนจนต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอน อย่าชะล่าใจกับสัญญาณเตือนว่า 'มะเร็งโรคเลือด' อาจกำลังมาเยือน
มะเร็งโรคเลือด หรือโรคเอ็มพีเอ็น ( Myeloproliferative neoplasm) ไม่ใช่โรคที่แปลกใหม่ วงการแพทย์พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้กับประชาชน โดยเน้นให้ทราบถึงอาการผิดปกติเบื้องต้น เพื่อรับการรักษาได้ทันการณ์

ก่อนที่จะรู้ว่าโรคเอ็มพีเอ็นคืออะไร พอ.นพ.อภิชัย ลีละสิริ ผู้อำนวยการกองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ต้องเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของเลือดในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด เพื่อให้ทราบว่าโรคนี้เกิดขึ้นที่ส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง แล้วเมื่อเกิดขึ้นกับร่างกายของเราแล้วจะส่งผลร้ายอย่างไร

ความผิดปกติของระบบผลิตเม็ดเลือด ทราบได้จากการตรวจเลือดดูความสมบูรณ์และปริมาณเม็ดเลือดแดง กรณีที่มีมากเกินไปจะมีผลให้เลือดข้นไหลเวียนได้ช้า เสี่ยงที่จะเกิดอาการเส้นเลือดอุดตันตามมา ขณะเดียวกันหากร่างกายผลิตน้อยก็เสี่ยงที่จะอยู่ในภาวะโลหิตจาง ตัวซีดและเหนื่อยง่าย
เม็ดเลือดขาวก็เช่นเดียวกันถ้ามีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เลือดข้น ไหลเวียนช้า แต่หากร่างกายผลิตได้น้อยจะทำให้ร่างกายมีโอกาสที่จะติดเชื้อโรคง่ายกว่าปกติ และในคนที่มีปัญหาเรื่องเกล็ดเลือด หากร่างกายผลิตเกล็ดเลือดมากเกินไปก็เพิ่มความเสี่ยงในการอุดตันได้เช่นกัน แต่หากน้อยเกินพอดีก็เสี่ยงที่จะทำให้เลือดออกง่าย แต่หยุดยาก
ความผิดปกติของระบบเลือดในร่างกาย สังเกตจากอาการที่ปรากฏคือ ภาวะซีด เหนื่อยง่าย คันตามร่างกายโดยหาสาเหตุไม่ได้ เหงื่อออกมากเวลากลางคืน กินอาหารได้น้อยลง รวมถึงมีอาการเจ็บแถวบริเวณใต้ชายโครง ซึ่งเป็นตำแหน่งของตับและม้าม เพราะตับหรือม้ามอาจมีขนาดที่โตกว่าปกติอยู่ อ่อนเพลียง่าย เป็นต้น

ส่วนสาเหตุความผิดปกติมาจาก 2 สาเหตุคือ พันธุกรรมและเกิดขึ้นในภายหลังเพราะร่างกายทำงานผิดปกติ โดยกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดผิดปกติ
สำหรับวิธีการรักษามะเร็งโรคเลือดด้วยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ซึ่งสร้างความหวังสูงสุดให้กับคนไข้ว่าจะต้องหายแน่นอน แต่แท้จริงแล้วเป็นวิธีที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ ในทางการแพทย์ เพราะต้องอาศัยปัจจัยที่เอื้อต่อการรักษาอีกหลายประการร่วมด้วย หรือกรณีคนไข้ม้ามโต แพทย์อาจให้กินยาลดขนาดม้าม แต่ก็มีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวได้น้อยลง หรือหากฉายแสงทำให้ม้ามยุบได้ 2 เดือนก็กลับมาโตใหม่และทำซ้ำไม่ได้แล้ว

“โรคเอ็มพีเอ็นเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นแล้วรักษาไม่หายขาด แต่เป้าหมายของการรักษาก็เพื่อบรรเทาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค รวมถึงทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำอย่างถูกวิธี กินยาสม่ำเสมอไปตลอดไม่มีดื้อ รู้ควบคุมไขมันในเลือดและงดสูบบุหรี่ซึ่งเป็นตัวการทำให้ภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากขึ้น คนไข้ก็สามารถที่จะมีชีวิตยืนยาวไม่ต่างจากคนปกติ” พอ.นพ.อภิชัย กล่าว

ทำความรู้จักโรคเอ็มพีเอ็น
โรคเอ็มพีเอ็นเป็นกลุ่มของโรคเลือด ที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด โดยเฉพาะ 3 โรคที่พบบ่อยคือ
1. โรคเลือดข้น เนื่องจากร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันบริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง และบริเวณปลายนิ้ว และทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ การรักษาจะให้ยาต้านเลือด
2. โรคเกล็ดเลือดสูง จะมีการอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ วูบบ่อยๆ หลอดเลือดอุดตัน ปวดบริเวณปลายนิ้ว บางกรณีกลายเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตครึ่งซีก ขาบวมและปวดข้างเดียว รักษาได้ด้วยการรับประทานยา
3. โรคผังผืดในกระดูก ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ แต่ต่อมาจะมีอาการม้ามโต แน่นท้อง อิ่มง่าย กินอาหารได้น้อย ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย อ่อนเพลียง่าย ตับอาจจะโตขึ้นทำให้แน่นท้องใต้ชายโครงขวา ต่อมาจะมีอาการคัน และเหงื่อออกตอนกลางคืน หากโรคอยู่ในระยะสุดท้ายอาจจะมีไข้ อ่อนเพลียมาก ผอมแห้ง ปวดกระดูก ปวดตามเส้นประสาท
การรักษาจะทำได้ด้วยการรับประทานยา การรับเลือดและการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับเลือดบ่อยๆ อาจจะเกิดภาวะเหล็กในร่างกายสูงและสะสมอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในกรณีที่ม้ามโตจะต้องรักษาด้วยการรับประทานยาลดขนาดม้าม หรือฉายรังสี และตัดม้าม
Tags : โรคเอ็มพีเอ็น,เลือด,สุขภาพ,มะเร็งโรคเลือด,พอ.นพ.อภิชัย ลีละสิริ
ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus

#Chlorophyll_Plus