วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

5 สาเหตุทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่อยากป่วยง่ายก็ควรหลีกเลี่ยง

5 สาเหตุทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่อยากป่วยง่ายก็ควรหลีกเลี่ยง

          ภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีความจำเป็นกับเรามากแค่ไหน เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงทราบ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เราต้องพบเจอกับเชื้อโรคมากมายที่อยู่รอบตัว ทำให้ภูมิคุ้มกันของเราต้องทำงานหนัก แต่ก็ไม่เพียงแค่สภาพแวดล้อมเท่านั้นที่ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำร้ายระบบภูมิคุ้มกันของเราอีกด้วย  แล้วถ้าอยากให้สุขภาพแข็งแรง คงต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้แล้วล่ะครับ

1. กินของหวานมากเกินไป


          การรับประทานของหวานมากเกินไปไม่ใช่แค่เพียงทำให้คุณอ้วนขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลงอีกด้วย เพราะมีการศึกษาหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition พบว่าการรับประทานน้ำตาล 100 กรัม จะทำให้ความสามารถในการทำลายเชื้อแบคทีเรียในของเม็ดเลือดขาวหยุดชะงักไปถึง 5 ชั่วโมงหลังจากการรับประทานน้ำตาล

2. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ


          เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมเวลาเราไม่สบายเมื่อไปหาหมอ หมอมักจะบอกให้คุณดื่มน้ำมาก ๆ นั่นก็เป็นเพราะว่าน้ำจะช่วยชำระล้างสารพิษต่าง ๆ ในร่างกายที่เป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บ และถ้าหากคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอก็จะทำให้สารพิษที่อยู่ในร่างกายตกค้าง ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ซึ่งโดยปกติคนเราควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว

3. อ้วนเกินไป


          เรามักจะรู้แต่ว่าการมีน้ำหนักมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง และอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ แต่จริง ๆ แล้วการมีน้ำหนักมากเกินไปก็ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 40 เพราะน้ำหนักส่วนเกินจะไปทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความไม่สมดุลและส่งผลให้เกิดการอักเสบและความบกพร่องของภูมิคุ้มกันที่ช่วยในการต่อสู้กับการติดเชื้อต่่าง ๆ

4. จมูกของคุณแห้งเกินไป


          รู้ไหม ครับว่าการที่จมูกของเราแห้งเกินไปก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เราป่วยได้เหมือนกัน เพราะโดยปกติแล้วอาการคัดจมูก และน้ำมูกไหลนั้นเป็นขบวนการในการป้องกันโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ เพราะน้ำมูกที่อยู่ในจมูกเป็นตัวที่คอยดักเชื้อโรคและขจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย และการที่จมูกของคุณแห้งเกินไปก็ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้นถ้าหากคุณมีอาการจมูกแห้งควรจะหาน้ำเกลือมาล้างจมูกเพื่อให้จมูกชุ่มชื้นอยู่เสมอ และถ้าหากเป็นบ่อยจนเกินไปก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยครับ

5. ความเครียด


          หลายคนคงจะเคยป่วยเป็นไข้หวัดในช่วงใกล้กำหนดส่งงานชิ้นใหญ่ นั่นก็เป็นเพราะว่าเรามีความเครียดมากเกินไป ซึ่งถ้าหากเรามีความเครียดสะสมก็ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอ และถ้ายิ่งเราเกิดความเครียดในช่วงที่กำลังเป็นไข้หวัดด้วยละก็ อาการก็จะยิ่งหนักกว่าเดิม ดังนั้นอย่าเครียดกันเลยนะครับ

          ระบบภูมิคุ้มกันของเรา เปรียบเหมือนปราการด่านสุดท้ายของร่างกาย ก่อนที่เชื้อโรคต่าง ๆ จะเข้าไปทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ ซึ่งถ้าหากภูมิคุ้มกันอ่อนแอมากเกินไปก็อาจจะทำให้ป่วยได้บ่อยมากขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่าถ้าคุณเป็นไข้หวัดมากกว่า 3 - 4 ครั้งต่อฤดูกาล นั่นก็แปลว่าภูมิคุ้มของคุณกับอ่อนแอมากแล้วล่ะครับ ซึ่งวิธีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่ง่ายที่สุดก็คือการพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะผักและผลไม้ครับ

          เห็นไหมครับว่าสุขภาพไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ดังนั้นอย่าละเลยมันเด็ดขาดเลยครับ เพราะเราไม่รู้หรอกว่าการที่เราสุขภาพอ่อนแอเราจะพบกับโรคภัยอะไรบ้าง และความร้ายแรงจะมากแค่ไหน ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ถ้าหากเราจะต้องเสียเวลาและเสียเงินไปกับการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จริงไหมครับ

ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus
#Mistica



วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

HbA1c หรือ ค่าน้ำตาลสะสม ค่าน้ำตาลเก่า คืออะไร

HbA1c คืออะไร หรือ ค่าน้ำตาลสะสม ค่าน้ำตาลเก่า คืออะไรมาดูกัน
HbA1c คืออะไร ?
ค่าน้ำตาลสะสม คืออะไร ?
ค่าน้ำตาลเก่าคืออะไร ?

 HbA1c คืออะไร
    HbA1c คือ ฮีโมโกลบินชนิดเอ (HbA) ซึ่งเป็นฮีโมโกลบินชนิดที่มีปริมานมากที่สุดในเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ขนส่ง หรือ เป็นตัวพาออกซิเจนในเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของเรา โดย HbA ปกติแล้วสามารถเกิดการทำปฏิกิริยา Glycation กับน้ำตาลในเลือดของเรา และกลายเป็น HbA1c (glycated hemoglobin) และสะสมอยู่ในเลือดนั้นเองครับ โดยในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปริมานน้ำตาลในเลือดสูงก็จะมีการสะสม HbA1c ในเลือดสูงเช่นกัน

 HbA1c บอกอะไรได้บ้าง ?
    เนื่องจาก HbA1c เป็นฮีโมโกลบินที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในเลือด เราจึงใช้ประโยชน์ตรงนี้ในการช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อดูปริมาณน้ำตาลของผู้ป่วยทางอ้อมนั้นเองครับ โดยดูว่าผู้ป่วยมีการควบคุมระดับน้ำตาลดีแค่ไหน ซึ่งมีความแตกต่างจากค่าน้ำตาลที่เราอดอาหารแล้วไปตรวจแน่นอนครับ แถมยังมีประโยชน์อย่างมากด้วยครับ
 

 ค่า HbA1c ต่างจากค่าน้ำตาลในเลือดอย่างไร ?
     ต่างกันแน่นอนครับ อย่างที่บอกไปในคำถามที่แล้วว่า เพื่อใช้ดูปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยในระยะเวลา ? เดือนที่ผ่านมา ประโยชน์ก็คือ ทรายผู้ป่วยท่านนั้นมีการควบคุมน้ำตาลได้ดีแค่ไหนในระยะเวลา ? เดือนที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าจะมาพบหมอแล้วอดอาหารเพื่อหลอกหมอนั่นเองครับ ^^ ส่วนการตรวจน้ำตาลหรือ glucose ที่ตรวจปกตินั้นก็ดูแค่ช่วงเวลานั้นหรือวันนั้นเฉยๆครับ


 HbA1c บ่งบอกถึงระดับน้ำตาลสะสมเลือด 2-3 เดือนที่ผ่านมา
      ใช่แล้วครับระยะเวลา 2-3 เดือน นั่นคือระยะเวลาของ HbA1c ก่อนที่จะสลายหายไปครับ ปกติแล้ว HbA1c นั่นหมอจะสั่งตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้วเท่านั้นครับ ไม่ได้ใช่เป็นตัววินิจฉัยโรคเบาหวานครับ



ค่าปกติ ไม่ควรเกิน 6 mg%
      ถ้ามากกว่า 6 mg%  สำหรับผู้ป่วยนั่นถือว่าควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ซึ่งทำให้ผู้ป่วยคนนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้ครับ เช่น การมองเห็น การทำงานของไต เป็นต้นครับ
***ทั้งนี้ค่าที่ใช้อาจเป็น 7 mg% ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในโรงพยาบาลนั้นๆครับ***

ด้วยความปรารถนาดีจาก
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus
#Mistica


วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ยาที่พึงระวัง เพราะอาจเพิ่มความดันโลหิต

ยาที่พึงระวัง เพราะอาจเพิ่มความดันโลหิต
มีรายงานผลการศึกษาของ Harvard School of Medicine ว่าการทานยาแก้ปวดต่อเนื่องมีผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
โดยเฉพาะยาในกลุ่ม พาราเซตตามอล(acetaminophen เช่นTylenol)และ ibuprofen (Advil และ Motrin).
การศึกษานี้กระทำในกลุ่มสตรีจำนวน 5,123 คน ที่มีอายุระหว่าง 34 ปีถึง 77 ปี ที่ระดับความดันโลหิตปกติขณะเริ่มการศึกษา , พบว่า:
1.ผู้ที่ไม่ได้ทานยาดังกล่าวใดๆ มีความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น 1 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี
2.ผู้ที่ทานยาพาราเซตตามอลเฉลี่ยมากกว่าวันละ 500 mg อัตราเพิ่มของความดันโลหิต 93 ถึง 99เปอร์เซนต์ ภายในสามปี เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทานน้อยกว่า 500 mg.
3.ผู้ที่ทานยา แก้ปวดกลุ่ม NSAIDS 400 mg (เทียบเท่า ibuprofen สองเม็ด) อัตราเพิ่มของความดันโลหิต 60 ถึง 78 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทานน้อยกว่า 400 mg.
ก็สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติจากองค์การอาหารและยา U.S. Food and Drug Administration (FDA) ก่อนหน้านี้ที่ออกมาควบคุมให้ผู้ผลิตยาต้องพิมพ์คำเตือนลงบนฉลากยาข้างขวดว่า
" ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs นี้สามารถเพิ่มอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง แม้กระทั่งภายหลังการทานยาในสัปดาห์แรกก็ตาม "
( “the risk of heart attack or stroke can occur as early as the first weeks of using an NSAID. Plus, the risk appears greater at higher doses.")
นอกจากนี้ FDA ยังได้ออกคำเตือนอีกว่า อาการโรคหัวใจนี้อาจเกิดได้กับทั้งคนที่มีประวัติโรคหัวใจหรือโรคเรื้อรังอื่นๆมาก่อนหรือไม่เคยมีประวัติมาก่อนเลยก็ได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่ทานยาเหล่านี้ภายในปีแรกหลังจากมีอาการของโรคหัวใจมาก่อนจะมีอตราเสี่ยงมากที่สุด



ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

6 อาการที่ร่างกายแจ้งเตือน ภายใน 1 เดือน ก่อนหัวใจวาย!

ระวัง!! 6 อาการที่ร่างกายแจ้งเตือน ภายใน 1 เดือน ก่อนหัวใจวาย!

หัวใจวาย เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในสหรัฐ ควรรักษาสุขภาพและการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บจากการดำเนินชีวิตของคุณ


เรารู้ว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคบางอย่างทางพันธุกรรม แต่ตราบใดที่คุณสามารถดูแลรักษาสุขภาพของคุณให้ดีจะช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บไข้ได้ป่วย

แต่ด้วยการดำเนินชีวิตที่ยุ่งวุ่นวายกับหน้าที่การงาน จึงไม่ง่ายที่จะดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดปัญหาการเจ็บป่วยรวมถึงโรคหัวใจ ซึ่งเป็นภัยเงียบ คุณไม่เคยรู้ถึงปัญหาจนกว่าจะสายเกินไป เพื่อป้องกันกรณีที่เลวร้ายจะเกิดขึ้น มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้จักกับอาการหัวใจวายก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง

นี่คือ 6 อาการที่ก่อให้เกิดอาการหัวใจวาย




1. ความอ่อนแอ อาจมีสาเหตุเมื่อร่างกายของคุณรู้สึกอ่อนแอ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นในทันทีทันใด เป็นไปได้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแคบลง ทำให้คุณไม่มีแรงหมดกำลังวังชา 

2. ความเมื้อยล้า fatique การหดตัวของหลอดเลือดทำให้หัวใจได้รับเกร็ดเลือดต่ำ มันจะทำให้หัวใจทำงานหนัก และทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากและง่วงนอนตลอดเวลา

3. อาการเวียนศีรษะและเหงื่อออก การไหลเวียนเลือดติดขัดทำให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะที่สำคัญของร่างการไม่ทั่วถึง รวมไปถึงสมองของคุณด้วย ซึ่งมันเป็นอันตรายมาก อันดับแรกจะทำให้คุณรู้สึกเวียนศีรษะ

4. หายใจถี่เหนื่อยง่าย ปริมาณของเลือดในหัวใจที่ลดลง จะทำให้ปอดไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ ทั้งสองระบบมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ถ้าคุณรู้สึกมีปัญหาในการหายใจให้ปรึกษาแพทย์ คุณอาจอยู่ในช่วงเวลาที่ถูกโรคภัยไข้เจ็บเล่นงานอยู่

5. แน่นหน้าอก ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดแน่นบนหน้าอกของคุณ ไม่ว่าจะมีอาการปวดเล็กน้อย หรือ ความดันขึ้น มีความเป็นไปได้สูงว่าคุณกำลังถูกเล่นงานจากโรค อาการปวดจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งมีการโจมตีเกิดขึ้นจริง

6. ไข้หวัดใหญ่หรืออาการหนาวเย็น ไข้หวัดอาจดูเหมือนปัญหาสุขภาพที่ไม่หนักหนาอะไร แต่ถ้าคุณได้ประสบกับมันหลังจากที่รู้สึกว่ามีอาการของโรคบางอย่างที่กล่าวถึง อาจเป็นสัญญาณว่าคุณถูกเล่นงานจากโรค ได้รับรายงานว่าหลายคนเป็นไข้หวัดอยู่หลายวัน ก่อนที่จะถูกโจมตีจากโรคภัย

สิ่งที่คุณควรทำเมื่อพบอาการของโรค

ถ้าคุณหรือบางคนทราบว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้น คุณต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด รับการรักษาทันที เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันโรคหัวใจวาย 





สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156

#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 



วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน



          โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือโรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยปัจจุบันและในขณะนี้พบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว มีจำนวนคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากเป็นอันดับสองรองจากการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนี้มีวิธีในการรักษาอยู่หลายวิธี ได้แก่ การใช้ยาในการรักษา การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (เรียกว่า การผ่าตัดบายพาส) และการใช้บอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดที่ตีบตัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษา ถึงปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการและการรักษาของโรคนี้ให้เข้าใจ

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน



          ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเป็นมากขึ้นเวลา ออกแรง นั่งพักจะดีขึ้น ในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาล ไม่ทัน ก็อาจเสียชีวิตได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
1.เพศ พบว่าเพศชายมีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้มากกว่าเพศหญิง 3 เท่า และมีอัตราการเสียชีวิตในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 5 เท่า

2.ประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันก่อนวัยอันควร(ผู้ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี,ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)จะมีความเสี่ยงที่ จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
          จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มอัตราเสี่ยงเป็น 2-20เท่าของผู้ชาย ที่ไม่มี ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

3. ภาวะไขมันในเลือดสูง
โคเลสเตอรอลสูง โอกาสการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเพิ่มขึ้นตามระดับโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น

ภาวะต่อไปนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
      - โคเลสเตอรอลรวม(Total cholesterol) และ LDL cholesterol สูง
      - HDL cholesterol ต่ำ(จากการศึกษาของ Framingham พบว่าอัตราเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มขึ้น 25%สำหรับทุกๆ 5mg/dLที่ลดลงต่ำกว่าค่ามัธยฐานของ HDL cholesterol ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง)
      - Total cholesterol/HDL cholesterol ratio(อัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลและHDL)สูง
         จากการศึกษาพบว่า
• ในผู้ชายที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 6.4 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-14%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน
• ในผู้หญิงที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 5.6 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 25-45%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน
ในทางตรงกันข้ามในคนที่มีระดับ ratio เดียวกัน แม้มีระดับ total cholesterol or LDL เพิ่มขึ้นก็ไม่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
      ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) สูง,ระดับ Lp(a)(เป็นไขมันที่เกาะรวมอยู่กับโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า lipoprotein a) สูง
      การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง เน้นที่การคุมอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่ได้ผลจึงใช้ยาลดไขมันในเลือด
     ผลดีของการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถลดอัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดและอัตราการเสียชีวิต จากโรคหัวใจ ได้ ทั้งในคนที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อนและผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว

4.ความดันโลหิตสูง
        ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจโตและเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,หัวใจล้มเหลว,การเสียชีวิต
ฉับพลัน,การเกิดโรคอัมพาตจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง
       ความดันโลหิตที่สูงไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตตัวบน(systolic blood pressure) หรือความดันโลหิตตัวล่าง(diastolic blood pressure)ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจและเส้นเลือดสมองตีบตันได้แต่จะมีผลไม่เท่ากันในอายุที่ต่างกัน
       จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่อายุน้อยกว่า 50ปี ความดันตัวล่างจะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด
       ผู้ที่อายุ 50-59 ปี ความดันโลหิตทั้งตัวบน ตัวล่างและค่า pulse pressure (ค่าความแตกต่างระหว่าง ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง) มีผลต่ออัตราเสี่ยงพอๆกัน
       ผู้ที่อายุมากกว่า หรือเท่ากับ 60 ปี ค่า pulse pressure จะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด
      การรักษาโดยการควบคุมอาหาร จำกัดอาหารเค็ม ร่วมกับการใช้ยาลดความดันโลหิตในรายที่ความดันสูงมากหรือเริ่มมีการทำลายอวัยวะภายในร่วมด้วย
      ผลดีของการรักษาสามารถช่วยลดการเกิดภาวะอัมพาตจากสมองขาดเลือด,การเกิดหัวใจล้มเหลว รวมทั้งภาวะหัวใจขาดเลือดได้

5.Pulse pressure(ค่าความแตกต่างระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง)
      ในรายที่มีค่า pulse pressure เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

6.เบาหวานและภาวะการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี( glucose intolerance)
      เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตีบตัน(atherosclerosis)โดยเฉพาะในผู้หญิง
      การรักษา โดยการควบคุมอาหารจำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล

7.ภาวะการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
      การเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
      การรักษา โดยการให้ฮอร์โมนเสริมที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจนและโปรเจสติน

8.ปัจจัยที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต(Lifestyle factors)
• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
       ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ถึง 23% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม ระดับ HDL cholesterol , ลดความดันโลหิต , ลดน้ำหนักและช่วยให้การคุมเบาหวานดีขึ้น

• การสูบบุหรี่
       เป็นตัวการสำคัญของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตัน   ในผู้ที่สูบบุหรี่วันละอย่างน้อย 20 มวนจะเพิ่มอัตราการเกิด กล้ามเนื้อ หัวใจตาย 3 เท่า ในผู้ชาย และ 6 เท่าในผู้หญิงเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งคนที่สูดควันบุหรี่ก็มีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย
      -อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำลดลง 50% ภายใน 1 ปีของการหยุดสูบบุหรี่ และกลับมาเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ภายใน 2 ปี
      -ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่จะยังคงอยู่ไม่ว่าจะเคยสูบมานานหรือสูบมามากเท่าไรก็ตาม

• อาหาร
       นอกจากอาหารที่มีไขมันสูงจะเป็นตัวทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันแล้ว ยังพบว่าการทานผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใย อาหาร สูงจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตัน
       การทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตันลงได้ถึง 40-50% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทานเส้นใยอาหารต่ำ

• การดื่มสุรา
       มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การดื่มสุราในขนาดที่เหมาะสมจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้
      จากการศึกษาผู้ชายและผู้หญิงในอเมริกา 490,000 รายที่ดื่มสุราในปริมาณที่เหมาะสมพบว่าอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดและหัวใจลดลง เหลือ 0.7 ในผู้ชาย และ 0.6 ในผู้หญิง เมื่อเทียบกลุ่มที่ไม่ได้ดื่มสุรา ซึ่งเชื่อว่า แอลกอฮอล์ทำให้มี การเพิ่มของ HDL Cholesterol ได้

       มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง , ภาวะ glucose intolerance , ภาวะดื้อต่ออินสุลิน , ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น , ระดับ HDL Cholesterolต่ำลง , ระดับ Fibrinogen เพิ่มขึ้น
       ความอ้วนเพิ่มอัตราการเสียชีวิตรวมและที่เกิดจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ จากการศึกษาพบว่าคนอ้วน (BMIหรือดัชนีมวลร่างกาย มากกว่า หรือเท่ากับ 40) จะมีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมสูงที่สุด คิดเป็น 2.7 เท่าในผู้ชายและ 1.9 เท่าในผู้หญิง
       การศึกษาพบว่าการมีน้ำหนักเพิ่มมากหลังอายุ 20 ปีจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เช่นกัน รายงานในผู้ชายที่ศึกษา 6,874 รายเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยเทียบกันในกลุ่มอายุ , การออกกำลังกาย , การสูบบุหรี่ใกล้เคียงกัน พบว่า อัตราเสี่ยงของการตายจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ต่ำที่สุดในกลุ่มที่มีน้ำหนักคงที่คือเพิ่มไม่เกิน 4% หลังอายุ 20 ปี
      อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 1.57 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่ม 4-10%
      อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2.76 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 35%


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156

#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

หน้าที่ของระบบหายใจกับระบบไหลเวียนของเลือด


หน้าที่ของระบบหายใจกับระบบไหลเวียนของเลือด มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันคือ การนำออกซิเจนไปสู่เซลล์ของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทิ้ง จึงได้นำทั้ง 2 ระบบ มาไว้ในเรื่องเดียวกัน


1.ระบบหายใจ
      หลอดลมมีหน้าที่ไม่เพียงแต่นำอากาศเข้าออกสู่ปอดเท่านั้น ยังมีหน้าที่ทำความสะอาด ทำให้อบอุ่นและเพิ่มความชื้นให้กับอากาศ ก่อนที่จะหายใจได้ไปจนถึงถุงลมด้วยแรงที่ดูดอากาศเข้าและบีบออกจากปอดมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะผ่านแรงนี้เข้าไปในช่องปอด พลังงานที่ต้องใช้ส่วนใหญ่ก็เพื่อสู้กับแรงต้านทานของการไหลของอากาศเข้าสู่ปอดและออกจากปอด ใน ระหว่างออกกำลังกาย การหายใจจะเพิ่มมากกว่าตอนพักมากมาย แก๊สทั้ง 2 ชนิดจะถ่ายเทแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างอากาศและเลือด ผ่านทางผนังของถุงลม ฮีโมโกลบินจะนำออกซิเจนซึ่งไม่ค่อยละลายในนํ้าเหลืองไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งละลายง่ายในนํ้าเหลืองในรูปไบคาร์บอเนต
ในขณะออกกำลังหนัก การหายใจและการไหลเวียนของเลือดจะต้องทำงานเกือบเต็มที่ สาเหตุหรือกลไกที่ทำให้การหายใจเพิ่มขึ้นขณะออกกำลังกายยังไม่เป็นที่ทราบชัด

2.ระบบไหลเวียนของเลือด
      เลือดจากเส้นเลือดดำของร่างกาย ถ่ายเทเลือดดำสู่หัวใจด้านขวา จากนั้นหัวใจจะบีบเลือดดำนี้เข้าไปในปอด เพื่อให้ปอดฟอกหรือเก็บออกซิเจนกลายเป็นเลือดแดง แล้วไหลวนกลับ ไปสู่หัวใจด้านซ้าย แล้วจึงจะถูกบีบออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจอาจจะส่งเลือดไป ณ ที่ใดในร่างกายได้ตามความต้องการ เช่นที่กล้ามเนื้อที่กำลังออกกำลังอยู่ เส้นเลือดแดงเล็ก ๆ (arteriole) สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้ จึงทำให้แรงต้านทาน ในหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงตามด้วย จากเส้นเลือดแดงเล็ก ๆ จะส่งเลือดผ่านมาที่เส้นเลือดฝอย ซึ่งเป็นที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน อาหาร และของเสียจากการเผาผลาญระหว่างเลือดกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ เส้นเลือดดำเล็ก ๆ (venules) ทำหน้าที่กักเก็บเลือดที่ใช้แล้ว ตัวมันเองสามารถจะบีบตัวได้ถ้าจำเป็น (เช่นในกรณีที่เสียเลือด) เพื่อจะได้ส่งเลือดให้กับส่วนอื่นที่ต้องการเลือดได้ กล้ามเนื้อที่กำลังออกกำลังอยู่ จะได้ออกซิเจนจากเลือดมากกว่าในสภาวะพักมาก เช่นกัน การไหลเวียนของเลือดก็ต้องเร็วขึ้นมากขึ้นตามมาด้วย ในทางตรงกันข้ามกล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนจากเลือดเพิ่มขึ้นถึง 70% จากปกติ
     ในบางคราวเกิดขึ้นได้แม้แต่อยู่ในสภาวะพักอยู่ ฉะนั้นจึงไวต่อการอุดตัน หรือการกั้นการไหลเวียนของเลือดเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นในโรคเส้นเลือด หัวใจตีบตันความดันโลหิตจะต้องรักษาระดับไว้ เพื่อที่จะสามารถนำเลือดไปสู่ส่วนต่าง ๆ ได้ การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตจะรับรู้ที่ Baroreceptor ซึ่งจะส่งสัญญาณไปตามระบบประสาทอัตโนมัติ ไปทำให้ปริมาณเลือดที่หัวใจปั๊มออกมา และความต้านทานในหลอดเลือดเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาให้ความดันโลหิตคงที่อยู่ได้
การเพิ่มปริมาณเลือดในหัวใจ จะไปยืดกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น ชีพจรเต็นเร็วขึ้น โดยการกระตุ้นประสาทซึมพัตเทติค และโดยการหลั่งอีปิเนฟรีน และนอร์อีปิเนฟรีนของต่อมหมวกไต

ผลของการออกกำลังต่อระบบหายใจ
     เมื่อเริ่มต้นออกกำลังกาย จะมีการเพิ่มการหายใจอย่างปานกลางโดยทันที ซึ่งอาจจะเป็นผลจากสมองสั่งการลงมา หรือเป็นผลจากการเคลื่อนไหวของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อก็ได้ อีก 2-3 นาทีต่อมา ถ้ายังออกกำลังต่อไป การหายใจจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และค่อย ๆ คงที่ ไม่เพิ่มต่อไปอีก ช่วงนี้อาจจะเป็นผลจากการกระตุ้นของสารเคมีบางอย่าง ซึ่งกลไกยังไม่เป็นที่ทราบชัด กล้ามเนื้อที่ทำงานจะให้ของเสียออกมาคือคาร์บอนไดออกไซด์และกรดแลคติค และต้องการออกซิเจนมากขึ้นด้วย ในขณะนั้นคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในปอดจะยังคงปกติ นอกจากจะออกกำลังหนักจริง ๆ การที่เลือดมีฤทธิ์เป็นกรดมิได้เป็นผลจากการหายใจ เมื่อหยุดการออกกำลัง การหายใจจะลดลงทันทีเช่นกัน และลงมากกว่าขาขึ้นเสียอีก ต่อจากนั้น จะค่อย ๆ กลับสู่สภาพปกติ แต่ช้ากว่าขาขึ้น
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุให้การออกกำลังไม่ได้ทนทาน ซึ่งยังหาคำอธิบายไม่ได้ แต่ที่ทราบแน่ชัดคือ บุหรี่จะเพิ่มแรงต้านทานในหลอดลม และจะขัดขวางการรวมตัวของออกซิเจนกับฮีโมโกลบิน โดยการที่มีคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปรวมตัวแทน นอกจากนี้นิโคตินยังทำให้เส้นเลือดหดตัวและกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ถึงแม้อยู่ในสภาวะปกติ พวกที่สูบบุหรี่มักมีอาการไอ เสมหะมากและเหนื่อยง่ายกว่าพวกไม่สูบบุหรี่ ถ้าสูบบุหรี่ติดต่อกันหลาย ๆ ปี จะมีการทำลายสุขภาพได้หลายทาง เช่น มะเร็งปอด ถุงลมพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคหัวใจบางชนิด และเกิดโรคกระเพาะอาหารได้


ผลการออกกำลังต่อระบบไหลเวียนของเลือด
     การออกกำลังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อหัวใจและหลอดเลือดได้มากมาย เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับสรีรภาพให้รับกับสภาพการณ์ใหม่ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดใด ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของการออกกำลังกาย โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดเคลื่อนที่(Dynamic) และชนิดอยู่กับที่ (Static)
การออกกำลังแบบเคลื่อนที่หรือไอโสโทนิค คือการที่กล้ามเนื้อหดตัว แล้วทำให้ความยาวของกล้ามเนื้อนั้นเปลี่ยนไป ในขณะเดียวกันแรงเครียดในตัวกล้ามเนื้อเองกลับเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
การออกกำลังแบบอยู่กับที่หรือไอโสเมตริค คือการที่กล้ามเนื้อหดตัวแล้วแรงเครียด ในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แต่ความยาวของกล้ามเนื้อเกือบไม่เปลี่ยนแปลง
ส่วนใหญ่การออกกำลังมักจะเป็นรูปผสม จะไม่เป็นเฉพาะแบบหนึ่งแบบใดแต่อย่างเดียว ตัวอย่างของพวกที่มีการเคลื่อนที่มาก เช่น วิ่ง ว่ายนํ้า ขี่จักรยาน กรรเชียงเรือ เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น พวกที่มีการอยู่กับที่มาก เช่น ยกนํ้าหนัก แบกของ ผลักหรือดันรถ ออกแรงต้านกับของที่ยึดอยู่กับที่ เป็นต้น
นอกจากหัวใจและหลอดเลือด จะเปลี่ยนแปลงตามชนิดของการออกกำลังกายแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงตามความหนักเบาของการออกกำลังด้วย เช่น การออกกำลังอย่างเฉียบพลันและรุนแรง หรือการออกกำลังที่ค่อย ๆเป็น ค่อยๆไป นาน ๆ เป็นต้น

การออกกำลังแบบเคลื่อนที่
พวกนี้กล้ามเนื้อทั้งมัดทำงานมาก จึงต้องการออกซิเจนมากตามการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้นมาด้วย ดังนั้นจึงมีผลให้ปริมาณเลือดที่ปั๊มจากหัวใจแต่ละนาที ชีพจร และปริมาณเลือดที่ปั๊มจากหัวใจแต่ละครั้งเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันความดันเฉลี่ยในหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยมีความดันขณะหัวใจบีบตัวเพิ่มขึ้น แต่ความดันขณะหัวใจขยายตัวไม่เปลี่ยนแปลง
ผลเฉียบพลัน ในขณะยืนพักหัวใจปั๊มเลือดออกมีปริมาณ 6 ลิตร/นาที ชีพจร 90/นาที และหัวใจปั๊มเลือดออกได้ 66 ลบ.ซม./ครั้ง เมื่อออกกำลังเต็มที่เลือดที่หัวใจปั๊มออกแต่ละนาที จะเพิ่มถึง4เท่า เป็น24ลิตร/นาที ๆ ชีพจรเพิ่มประมาณ 2 เท่า เป็น 190/นาที และหัวใจ ปั๊มเลือดออกแต่ละครั้งเพิ่มประมาณ 2 เท่า เป็น 126 ลบ.ซม./ครั้ง
ในขณะพัก กล้ามเนื้อได้รับเลือดเพียง 20% ของเลือดที่หัวใจปั๊มออกแต่ละนาที หรือประมาณ 1.2 ลิตร/นาที ขณะออกกำลังเต็มที่กล้ามเนื้อได้รับเลือดเพิ่มขึ้นถึง 90% ของเลือด ที่หัวใจปั๊มออกแต่ละนาที หรือ 21 ลิตร/นาที ซึ่งเกือบเป็น 20 เท่า เพิ่มขึ้นเนื่องจากมี me­tabolism สูงมาก ระหว่างการออกกำลังเต็มที่กล้ามเนื้อจึงต้องการออกซิเจนเกือบ 100% หลอด เลือดที่เลี้ยงอวัยวะต่างหดตัว เช่น ไต ตับ กระเพาะ ลำไส้ และอวัยวะภายในอื่น ๆ เพื่อที่เลือดจะได้ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อให้ทำงานได้เต็มที่ แต่ในขณะที่ออกกำลังเต็มที่นี้ เลือดในหลอด เลือดหัวใจกลับเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว ฉะนั้นในรายที่มีเส้นเลือดแดงอุดตันเพียงแต่ออกกำลังเล็กน้อย ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้แล้ว สำหรับเลือดที่เลี้ยงสมองจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะออกกำลังกายเต็มที่
ความต้องการออกซิเจนมากที่สุดในขณะออกกำลังเต็มที่ จะมีสัดส่วนโดยตรงกับนํ้าหนักตัว และจะลดลงตามอายุ อายุที่มีความต้องการออกซิเจนมากที่สุดอยู่ระหว่าง 15 ถึง 20 ปี จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง จนอายุ 60 ปี จะเหลือเพียง 2/3 ของคนอายุ 20 ปี นอกจากนี้ความต้องการออกซิเจนมากที่สุดยังขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำอยู่ เช่นในคนหนุ่มสาวปกติขณะให้นอนพัก นาน 3-6 อาทิตย์ ความต้องการออกซิเจนมากที่สุดจะลดลง 20-25% จากเดิม ในทางตรงกันข้าม ในคนมีอายุนั่ง ๆ นอน ๆ สามารถจะเพิ่มขึ้นได้ 33% ภายหลังจากฝึกออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 2 เดือน
ความแตกต่างของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำในขณะพัก เท่ากับ 5.6 ลบ.ซม./100 ลบ.ซม. ของเลือด แต่จะเพิ่มเป็น 15.8 ลบ.ซม./100 ลบ.ซม. ของเลือด เมื่อออกกำลังกายเต็มที่ ความจริงออกซิเจนในเลือดแดงไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงนักมักจะคงที่ แต่ออกซิเจนในเลือดดำจะเปลี่ยนได้มาก สำหรับกล้ามเนื้อหัวใจความแตกต่างของออกซิเจนใน หลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำจะสูงมากในขณะพัก คือประมาณ 14 ลบ.ซม./100 ลบ.ซม. ของเลือด ดังนั้นหัวใจจึงเกิดสภาวะขาดเลือดมาเลี้ยงได้ง่าย เมื่อมีโรคของเส้นเลือดนี้
ผลภายหลัง ผลที่สำคัญที่สุดคือ การเพิ่มความต้องการออกซิเจนมากที่สุด ซึ่งจะทำให้ความสามารถของการทำงานของหัวใจเพิ่มมากขึ้น และทำให้ผู้นั้นออกกำลังได้มากขึ้นและนานขึ้น ก่อนที่จะเกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหรือเจ็บหน้าอก โดยทั่ว ๆ ไปความต้องการออกซิเจนมากที่สุดจะเพิ่มขึ้น 33% ในคนแข็งแรงอายุ 20 ปี ค่อนข้างกระฉับกระเฉงจะมีความต้องการออกซิเจนมากที่สุดประมาณ 45 ลบ.ซม./กก./นาที นักกีฬาโอลิมปิคประเภททนทานมักจะมี ความต้องการออกซิเจนมากที่สุด 75-80 ลบ.ซม./กก./นาที คนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ยากที่จะมีความต้องการออกซิเจนมากที่สุดถึง 55 ลบ.ซม./กก./นาที ได้
ผลอีกอย่างหนึ่งคือ การเพิ่มปริมาณเลือดที่มากที่สุดที่ปั๊มจากหัวใจแต่ละครั้งและปริมาณเลือดที่มากที่สุดที่ปั๊มจากหัวใจแต่ละนาที ส่วนชีพจรสูงสุดเกือบไม่เปลี่ยนแปลงเลย ในขณะที่ออกกำลังยังไม่ได้เต็มที่ ชีพจรกลับจะลดลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเลือดที่ปั๊มจากหัวใจ แต่ละครั้งที่เพิ่มขึ้น สำหรับความแตกต่างของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำ จะเพิ่มมากขึ้น

การออกกำลังแบบอยู่กับที่
ความดันเฉลี่ยในหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งตรงข้ามกับพวกเคลื่อนที่ แต่ขณะเดียวกันชีพจรและเลือดที่หัวใจปั๊มออกแต่ละนาทีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และทั้งความดัน ขณะที่หัวใจบีบตัวและขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งคู่
ผลเฉียบพลัน การทำให้กล้ามเนื้อแขนข้างเดียวเกร็งหดตัวแบบอยู่กับที่ก็จะทำให้ความดันเฉลี่ยในหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นได้มาก (50-70 มม.ปรอท) เลือดที่หัวใจปั๊มออกแต่ละนาทีเพิ่มเล็กน้อย 1-2ลิตร/นาที ชีพจรเพิ่มขึ้นพอประมาณ 30-40 ครั้งต่อนาที เลือดที่ปั๊มออกจากหัวใจ แต่ละครั้งคงที่ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่เป็นปัญหาสำหรับคนหนุ่มสาวที่แข็งแรง แต่อาจเกิด อันตรายกับคนไข้ที่มีการเต้นของหัวใจไม่สมํ่าเสมอ หรือคนที่มีโรคหัวใจอยู่แล้วได้
การเพิ่มชีพจรและความดันโลหิต ขณะออกกำลังแบบอยู่กับที่จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเครียดที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อที่กำลังออกกำลังอยู่ ถ้าเกร็งกล้ามเนื้ออยู่นานและกล้ามเนื้อนั้นจะขาดออกซิเจน และกล้ามเนื้อต้องกลับมาใช้พลังงานที่มิได้อาศัยออกซิเจน ฉะนั้น การออกกำลังชนิดนี้จึงมีขีดจำกัดมาก
ผลภายหลัง การออกกำลังแบบอยู่กับที่สามารถเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและขนาดกล้ามเนื้อได้อย่างมาก แต่ไม่มีผลทำให้ความต้องการออกซิเจนมากที่สุดเพิ่มเลย ไม่ว่าจะออกกำลังให้หนัก และนานเท่าใด ตัวอย่างเช่น นักมวยปลํ้ากับนักยกนํ้าหนักจะมีความต้องการออกซิเจนมากที่สุด มากกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
พวกออกกำลังแบบเคลื่อนที่จะมีหัวใจที่ใหญ่กว่า และมีปริมาณออกซิเจนที่ได้จากการบีบของหัวใจแต่ละครั้งมากกว่าพวกออกกำลังแบบอยู่กับที่ เช่นฝาแฝดคู่หนึ่งฝึกการออกกำลัง คนละชนิดเป็นเวลานานปี (ยกนํ้าหนักและวิ่งทน) คนที่ยกนํ้าหนักมีนํ้าหนักตัวมากกว่าคนวิ่งทน 16กก. แต่นักยกนํ้าหนักมีปริมาตรของหัวใจน้อยกว่านักวิ่งทน150ลบ.ซม. และมีความต้องการออกซิเจนมากที่สุดน้อยกว่า 0.7 ลบ.ซม./กก./นาที
สำหรับคนไข้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังแบบอยู่กับที่เป็นการออกกำลังกายที่ไร้ประโยชน์ สู้ชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้การออกกำลังแบบอยู่กับที่อย่างหนักควรจะหลีกเลี่ยงเสียด้วย



ระบบหายใจ, ระบบไหลเวียนเลือด
บทความแนะนำ
เล่นเวท นานแค่ไหน กี่เดือน กี่ปี จึงเห็นผล?: เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผู้เริ่มต้นเล่นเวทอยากรู้ว่า จะต้องใช้เวลาฝึกฝนนานสักเพียงใด จึงจะเห็นผลจากการเล่นเวทที่ชัดเจนจนรู้สึกได้ ใครๆก็ทักว่ารูปร่างดีขึ้น
โภชนบำบัด: โภชนบำบัด (Therapeutic Nutrition หรือ Diet Therapy) หมายถึงการใช้อาหาร และความรู้ด้านโภชนศาสตร์รักษาโรคของผู้ป่วย โดยดัดแปลงอาหารธรรมดาให้เหมาะกับโรคหรือความต้องการของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสรีรวิทยาขณะเจ็บป่วย จุดประสงค์ของโภชนบำบัด 1. ขจัดการขาดสารอาหารต่างๆ ให้หมดไป และป้องกันการขาดสารอาหารในโอกาสต่อไปด้วย 2. ให้อวัยวะที่พิการได้พักการทำงานชั่วคราว 3. เพื่อช่วยเหลืออวัยวะที่พิการให้สามารถรับเอาอาหารพอกับกำลังที่จะเผาผลาญได้ 4. เพื่อดำรง […]
โภชนาการสำหรับนักกีฬา: นักกีฬาก็เหมือนคนทั่วไป ต้องรับประทานอาหารซึ่งให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน วิตะมิน เกลือแร่ และน้ำอย่างเพียงพอ แต่นักกีฬาเป็นผู้ที่ออกกำลังมาก และในการออกกำลังก็ต้องใช้พลังงานมาก ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาของร่างกายทุกส่วน เซลล์และเนื้อหนังบางส่วนมีการสึกหรอ จึงต้องมีการสร้างเสริมและซ่อมแซมให้ดีเป็นปรกติ แต่การจะเป็นดังนี้ได้ก็ต้องได้รับอาหารที่ดี มีคุณค่าครบตามหลักโภชนาการ คือแต่ละวันต้องได้รับอาหารหลัก 5 หมู่ครบ เพื่อนักกีฬาได้รับอาหารทุกอย่างครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย แต่เนื่องจากนักกีฬาต้องออกกำลัง และต้องการความสมบูรณ์มากกว่าคนปรกติ […]
โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ: (Nutrition for old Age) “ผู้สูงอายุ” หมายถึงผู้ที่มีอายุสูงกว่า 40 ปี ซึ่งอาจแบ่งเป็น “วัยกลางคน” อายุ 40-60 ปี และ “วัยชรา” อายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุหรือคนแก่นี้มีโอกาสเป็นได้ทั้งโรคขาดอาหาร และเกินอาหาร […]
โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่: (Nutrition for Adult) ผู้ใหญ่ในที่นี้หมายถึงผู้มีอายุระหว่าง 20-40 ปี คนเราเมื่ออายุล่วงเลย 20 ปีไป ความเจริญเติบโตจะถึงขีดสุด เมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นวัยนี้มีความต้องการโปรตีนและแคลเซียมน้อยลงทั้งหญิงและชาย ส่วนความต้องการวิตะมิน เอ ซี และ ดี ยังเท่ากับวัยรุ่น ผู้ชายยังต้องการธาตุเหล็กมาก แต่ผู้หญิงต้องให้ได้มากกว่า ผู้ใหญ่ต้องการแคลอรี่น้อยกว่าวัยรุ่น […]
โภชนาการสำหรับเด็กวัยรุ่น: (Nutrition for Adolescence) ทางโภชนาการกำหนดให้วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวมีอายุระหว่าง 16-20 ปี ผิดกับทางจิตวิทยาซึ่งจัดวัยรุ่นมีอายุระหว่าง 10-21 ปี เด็กวัยรุ่นเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนักและส่วนสูงอย่างรวดเร็วมากกว่าวัยอื่นๆ ยกเว้นวัยทารก การเจริญเติบโตของเด็กชายและเด็กหญิงไม่เหมือนกัน ทางจิตวิทยาถือว่าเด็กหญิงวัยรุ่นเติบโตมากเมื่ออายุ 10-12 ขวบ ส่วนเด็กชายจะเริ่มเมื่ออายุ 13-15 ปี แต่โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อ อายุ […]

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus



วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โรคลมอัมพาต

โรคลมอัมพาต

ชื่ออื่นๆ โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมปัจจุบัน อัมพาตครึ่งซีก โรคลมอัมพาตหมายถึง อาการแขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตขึ้นฉับพลัน มักมีสาเหตุได้หลากหลาย ควรรีบพาผู้ป่วยไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลทันที หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็อาจจะช่วยให้หายเป็นปกติหรือลดความรุนแรงลงได้

สาเหตุ
โรคนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่  ซึ่งมีอาการแสดงความรุนแรง  และวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน  ดังนี้
      1. สมองขาดเลือดจากการอุดตัน (ischemic stroke) พบได้ปริมาณร้อยละ 80 ของโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่
 หลอดเลือดสมองตีบ (thrombotic stroke)  เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ซึ่งจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย ในที่สุดจะมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นไปอุดตันหลอดเลือด ทำให้เซลล์สมองตายเพราะขาดเลือด มักพบในผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และผู้ที่สูบบุหรี่จัด

 นอกจากนี้ ก็ยังอาจจะพบในผู้ที่มีรูปร่างอ้วน  ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ผู้หญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิด (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ถ้าสูบบุหรี่ร่วมด้วย) และผู้ที่มีอายุมาก (มากกว่า 55 ปี ในผู้ชาย และ 65 ปีในผู้หญิง) โรคหลอดเลือดสมองตีบ  เป็นสาเหตุของโรคลมอัมพาตที่พบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่นๆ
 ภาวะลิ่มเลือดหลุดลอยไปอุดตันหลอดเลือด สมอง (embolic stroke) มักเกิดจากมีลิ่มเลือดที่อยู่นอกสมอง หลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เซลล์สมองตายเพราะขาดเลือด ที่พบบ่อยคือ ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นที่หัวใจ ในผู้ ที่เป็นโรคหัวใจ (เช่น หัวใจเต้นแผ่วระรัวผิดจังหวะ (atrial  fibrillation) โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น

      2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของโรคหลอดเลือดสมอง  ถือว่าเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลารวดเร็วได้ มีอัตราตายโดยเฉลี่ยร้อยละ 40 - 50 ถ้าพบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสาเหตุจากโรคความดันเลือดสูงที่เป็นรุนแรงเนื่องจากขาดการรักษาอย่างจริงจัง หรือเป็นโดยไม่รู้ตัวเนื่องจากไม่มีอาการผิดปกติ (เปรียบเหมือนภัยมืดที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย)  แต่ถ้าพบในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน ก็อาจมีสาเหตุจากการมีหลอดเลือดแดงที่ผิดปกติในสมอง  ซึ่งมักเป็นมาแต่กำเนิด และมาแตกเอาตอนโตขึ้น ทำให้มีเลือดออกในสมอง

 บางรายอาจเกิดจากภาวะการแข็งตัวของเลือด บกพร่อง เช่น เป็นโรคตับแข็ง (ซึ่งไม่สามารถสร้างสารกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด) เป็นโรคเลือดบางชนิดที่ทำให้เลือดออกง่าย กินยาแอสไพรินเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจและสมอง แต่มีผลข้างเคียงคือ ทำให้มีเลือดออกในสมองได้
 บางรายอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอ-ฮอล์จัด หรือเนื้องอกในสมองที่มีเลือดออก
 
อาการ
1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมอัมพาต เนื่องจากหลอด เลือดสมองตีบ มักมีประวัติเป็นโรคความดันเลือดสูง  เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด อายุมาก อ้วน หรือมีญาติพี่น้องเป็นโรคอัมพาต แล้วอยู่ๆ ก็มีอาการแขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรงลงทันทีทันใด อาจเกิดขึ้นขณะตื่นนอน ขณะเดินหรือทำงานอยู่ก็รู้สึกทรุดล้มลงไป (อาจทำให้เข้าใจผิดว่า อาการล้มลงเป็นต้นเหตุทำให้เป็นอัมพาต) ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแขนขาชา เกร็งตามแขนขา ตามัว มองเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้หรือพูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว หรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วย

บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ  เห็นบ้านหมุน หรือมีอาการสับสนนำมาก่อนที่จะมีอาการอัมพาตของแขนขา ผู้ป่วยมักมีอาการผิดปกติที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเพียงซีกเดียว กล่าวคือ ถ้าการตีบตันของ   หลอดเลือดเกิดขึ้นในสมองซีกขวา ก็จะเกิดอัมพาตของแขนขาซีกซ้าย แต่ถ้าการตีบตันของหลอดเลือดเกิดขึ้นที่สมองซีกซ้าย ก็จะมีอาการอัมพาตของแขนขาซีกขวา และบางรายอาจมีอาการพูดไม่ได้ร่วมด้วย (เนื่องจากศูนย์ควบคุมการพูดอยู่ในสมองซีกซ้ายถูกกระทบด้วย)
ผู้ป่วยส่วนมากจะรู้สึกตัวดี หรืออาจจะซึมลงเล็กน้อย ยกเว้นในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการหมดสติได้  หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการอัมพาต มักเป็นอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง และอาจจะเป็นอยู่นานเป็นแรมเดือน แรมปี หรือตลอดชีวิต บางรายอาจจะมีอาการอัมพาต ประมาณ 2 - 30 นาที (น้อยรายอาจเป็นนานเป็นชั่วโมง ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) และหายได้เองโดยไม่ได้รับการรักษาใดๆ    อาการดังกล่าวเกิดจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ เป็นอาการเตือนนำมาก่อน เป็นโรคอัมพาตประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี

2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมอัมพาตเนื่องจากลิ่มเลือด หลุดลอยไปอุดตันหลอดเลือดสมอง จะมีอาการแบบ เดียวกับอาการดังกล่าวข้างต้น แต่อาการอัมพาตมักเกิดขึ้นฉับพลันทันที  โดยไม่มีอาการเตือนมาก่อน ผู้ป่วย อาจมีประวัติเป็นโรคหัวใจ  หรือเคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน

3. ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดสมองแตก อาการมักเกิดขึ้นฉับพลันทันที โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า บางรายอาจเกิดอาการขณะทำงาน ออกแรงมากๆ หรือขณะร่วมเพศ ผู้ป่วยอาจบ่นปวดศีรษะ รุนแรงหรือปวดศีรษะซีกเดียว อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย แล้วต่อมาก็มีอาการปากเบี้ยวพูดไม่ได้ แขนขาอ่อนแรง อาจชักและหมดสติในเวลาอันรวดเร็ว
 
การแยกโรค
อาการแขนขาชาหรืออ่อนแรง มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง นอกจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองแล้ว ยังอาจเกิดจากเนื้องอกในสมองหรือไขสันหลัง การติดเชื้อในสมองหรือไขสันหลัง การได้รับบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเกิดจากภาวะใดก็ควรส่งตัว   ผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลทันที

การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการแสดงเป็นหลักและจำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุ โดยการถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นหัวใจ เจาะหลัง  และอื่นๆ
 
การดูแลตนเอง
ถ้าพบมีอาการแขนขาเป็นอัมพาต ควรรีบพาผู้ป่วย ไปโรงพยาบาลทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาแต่เนิ่นๆ หลังจากได้รับการรักษาจนพ้นระยะอันตราย หรือสามารถกลับไปอยู่บ้านได้ ก็ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด และติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรงดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบซ้ำ
 
การรักษา
แพทย์มักจะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล  และให้การรักษาตามสาเหตุ  เช่น
1. ถ้าพบว่าเกิดจากสมองขาดเลือดจากลิ่มเลือดอุดกั้น แพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเปิดทางให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมอง ทำให้เซลล์สมองไม่ตาย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสู่ปกติได้เร็ว ยานี้จะได้ผลดีต้องให้ภายใน 3 ชั่วโมงหลังมีอาการ หลังอาการคงที่แล้ว แพทย์จะให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (นิยมให้แอสไพริน ขนาด 75 - 325 มก.กินทุกวัน) ให้ยาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ยาลดความดันเลือด ยาเบาหวาน ยาลดไขมันในเลือด เป็นต้น ทำการฟื้นฟูร่างกายด้วยการทำกายภาพ บำบัด ในรายที่ตรวจพบมีหลอดเลือดแดงที่คอตีบ  อาจให้การรักษาด้วยการผ่าตัดหลอดเลือด  หรือใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด

2. ถ้าพบว่าเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ก็ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้น้ำเกลือใส่ท่อหายใจ และเครื่องช่วยหายใจ ควบคุมความดันเลือด (ถ้าสูงรุนแรง) ในรายที่มีก้อนเลือดในสมอง อาจจำเป็น ต้องทำการผ่าตัดสมองแบบเร่งด่วน ส่วนในรายที่มีเลือดออกเพียงเล็กน้อย และไม่กดถูกสมองส่วนที่สำคัญ  ก็อาจไม่ต้องผ่าตัด เมื่อรักษาจนผู้ป่วยปลอดภัยแล้วก็จะทำการฟื้นฟูร่างกายด้วยการทำกายภาพบำบัด

ภาวะแทรกซ้อน
อาจกลายเป็นโรคอัมพาตเรื้อรัง ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป ขึ้นกับความรุนแรง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย  ในรายที่ลุกนั่งไม่ได้ หรือนอนแบ็บอยู่บนเตียงนอน  อาจเกิดแผลกดทับที่ก้น หลัง หรือข้อต่อต่างๆ บางรายอาจสำลักอาหารเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจหรือปอดอักเสบได้ อาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่าย หรือเป็นแผลถลอกที่กระจกตาดำ นอกจากนี้ อาจมีความเครียดทางจิตใจ หรือโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
 
การดำเนินโรค
ในรายที่เกิดจากสมองขาดเลือดจากลิ่มเลือด อุดตัน ถ้ามีอาการเล็กน้อย และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก ก็อาจหายเป็นปกติ หรือฟื้นคืนสภาพได้จนเกือบเป็นปกติ จนช่วยตนเองได้ พูดได้ เดินได้ แต่อาจใช้มือได้ไม่ถนัด

ในรายที่เป็นรุนแรงหรือได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที  ก็มักจะมีความพิการหรือบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งต้องการการดูแลจากผู้อื่น  นั่งรถเข็น  หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
ส่วนน้อยที่จะพิการรุนแรง จนต้องนอนแบ็บอยู่บน เตียง และต้องการผู้ดูแลตลอดเวลา หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล โดยทั่วไป การฟื้นตัวของร่างกายมักจะต้องใช้เวลา  ถ้าจะดีขึ้นก็จะเริ่มมีอาการดีขึ้นให้เห็นภายใน 2 - 3 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถช่วยตนเองได้ หรือหายจนเกือบเป็นปกติ   ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลัง 6 เดือนไปแล้ว ก็มักจะพิการอย่างถาวร  ซึ่งมากน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรค  และสภาพร่างกายของผู้ป่วย   ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ผลการ รักษาขึ้นกับตำแหน่ง และปริมาณของเลือดที่ออก   สภาพของผู้ป่วย (อายุ โรคประจำตัว) และการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

ถ้าเลือดออกในก้านสมอง จะมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 90 - 95 ถ้าก้อนเลือดขนาดใหญ่ และแตกเข้าโพรงสมอง จะมีอัตราการตายถึงร้อยละ 50
ถ้าเลือดออกที่บริเวณผิวสมอง หรือก้อนเลือดขนาด เล็ก และไม่แตกเข้าโพรงสมองจะมีอัตราการตายต่ำ
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง  หากรอดชีวิตก็มักจะมีความพิการอย่างถาวร บางรายอาจจะกลายสภาพเป็นผัก หรือคนนิทรา อยู่นานหลายปี ในที่สุดมักจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อ ต่างๆ
ส่วนผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ซึ่งมักเกิดจากการแตกของ หลอดเลือดผิดปกติมาแต่กำเนิด ถ้าแตกตรงตำแหน่ง ที่ไม่สำคัญ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมาตั้งแต่แรก  มักจะสามารถฟื้นหายได้เป็นปกติ
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง แม้ว่าร่างกายจะฟื้นตัวได้ดี แต่ก็คงมีโรคลมชักจากแผลเป็นในสมอง  แทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งต้องกินยากันชักควบคุมอาการตลอดไป
 
การป้องกัน
1. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด ลดอาหารที่มีไขมันมาก กินผักและ ผลไม้ให้มากๆ ถ้าน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก และหมั่น ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
2. หมั่นตรวจวัดความดันเลือด เบาหวาน ภาวะ ไขมันในเลือด ถ้าพบว่าผิดปกติ ควรรักษาอย่างจริงจัง  เพื่อควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาต
3. ถ้าเคยมีอาการอัมพาตชั่วคราวจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรือเคยเป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ และกินยาแอสไพริน  หรือยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ตามแพทย์สั่งเป็น ประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน
 
ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน ไขมันเลือดสูง คนอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด โรคนี้นับว่าเป็นสาเหตุของความพิการทางร่างกาย ที่พบได้บ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
ด้วยความปรารถนาดีจาก 
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต 
#ProArgi9Plus
#Chlorophyll_Plus



Cr : นานาสาระ กับ เคล็ดลับสุขภาพดี